Friday, May 17, 2013

ตะลิงปลิง


ตะลิงปลิง
        วันนี้เปิดคอมฯไปเจอรูปตะลิงปิงที่ถ่ายรูปเก็บไว้ตอนกลับบ้าน ก็เลยว่าลองหาข้อมูลดูดีกว่า ว่าไอ้เจ้า "ตะลิงปลิง" เนืี่ย มีประโยชน์เป็นยังไงบ้าง เพราะรสชาติ เปี๊ยวจี๊ดถึงใจ..นึกถึงก็เปรี๊ยวปาก น้ำลายสอกันเลย (จิ้มกับกะปิ) ว๊าย!! ..ไม่ไหวแล้ว..






(ภาพถ่ายต้นตะลิงปลิงที่บ้าน ตอนที่โทรศัพท์ยังไม่เสีย T_______T! )

     เห็นแล้วก็เปรี๊ยวปาก  อยากกิน ฮ่าๆๆ
    ก่อนอื่นมารู้จักที่มาที่ไปของตะลิงปลิงกันก่อนดีกว่า..ไปกันเลย!!!。◕‿◕。

v
v

ตะลิงปลิง  เป็นไม้ผลผลในวงศ์ Oxalidaceae เป็นพืชเขตร้อน มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบชายฝั่งทะเลของบราซิล เป็นไม้ยืนต้น สูงได้ถึง 15 เมตร ออกผลตามกิ่งก้านและลำต้นเป็นพวงแน่นและสวยงาม จึงเป็นที่นิยิมปลูกทั่วไป นอกจากนี้ผลยังสามารถใช้บริโภค ตะลิงปลิงเป็นพืชร่วมวงศ์กับมะเฟือง มีส่วนที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนคือ ผลมะเฟืองมีขนาดใหญ่กว่าผลตะลิงปลิง (จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี)







×÷·.·´¯`·)»ลักษณะทางพฤกษศาสตร์«(·´¯`·.·÷× ♫
 ตะลิงปลิงเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีกิ่งก้านสาขามาก เปราะหักง่าย เปลือกต้นมีสีชมพู ผิวเรียบมีขนนุ่มปกคลุมตามกิ่ง
εїз  ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ก้านใบหนึ่งประกอบด้วยใบย่อย 11-37 ใบ กว้างประมาณ 1 เซนติเมตร ยาว 2-5 เซนติเมตร มีสีเขียวอ่อนมีขนนุ่มๆ ปกคลุมอยู่ ปลายคี่เรียงสลับกัน ใบย่อยรูปขอบขนาน ปลายเรียวแหลม
εїз ช่อดอกเป็นกระจุกอยู่ตามลำต้น มีกลีบดิกสีแดงอมม่วง ขนาดประมาณ 1.5 เซนติเมตร ดอกมี 5 กลีบ และมีกลิ่นอ่อน ๆ ทยอยบานได้นาน 1-2 สัปดาห์ขึ้นอยู่กับความดก เกสรกลางดอกมีสีเขียว
εїз ผลรูปรี ป้อม ยาว 4-10 เซนติเมตร กว้างประมาณ 2 เซนติเมตร ฉำ้น้ำ ปลายแหลม และเว้าเป็นพูตื้น ๆ 4 พู สีเขียวอมเหลือง เมื่อสุกเป็นสีเหลือง เนื้อเหลว ออกเป็นช่อห้อย รสเปรี้ยว เมล็ดแบน
       **  ผลมีรสเปรี้ยว เป็นที่นิยมเก็บผลอ่อนมากินกับกะปิ น้ำปลาหวาน เกลือ หรือนำมาทำส้มตำตะลิงปลิง หรือกินกับอาหารรสจัด หรือใช้เป็นเครื่องปรุงใส่ในอาหารที่ต้องการความเปรี้ยว เช่น แกงส้ม ต้มยำ เป็นต้น หรือจะนำมาแช่อิ่มก็ได้ หรือจะนำมาทำน้ำผลไม้ ซึ่งจะให้แคลอรีต่ำ มีวิตามินเอสูง แต่ไม่ควรกินติดต่อกันเป็นจำนวนมาก ๆ หรือเป็นระยะเวลานาน ๆ เพราะจะทำให้เลือดตกตะกอนได้

×÷·.·´¯`·)» ...สรรพคุณ...«(·´¯`·.·÷×

         ╰☆╮ ราก สรรพคุณแก้พิษร้อนใน กระหายน้ำ ฝาดสมาน บำรุงกระเพาะอาหาร แก้โลหิตออกตามกระเพาะอาหาร ลำไส้ ดับพิษร้อนของไข้ แก้ริดสีดวงทวาร แก้คัน แก้คางทูม แก้ไขข้ออักเสบ รักษาสิว รักษาซิลิส บรรเทาโรคเก๊าท์ บรรเทาการอักเสบของลำไส้ใหญ่
         ╰☆╮ ใบ สรรพคุณใช้พอกแก้คัน ใช้ภายในโดยนำมาต้มดื่มรักษาอาการอักเสบของลำไส้ใหญ่ รักษาซิฟิลิส แก้ไขข้ออักเสบ รักษาคางทูม รักษาสิว
        ╰☆╮  ดอก นำมาชงเป็นชา สรรพคุณแก้ไอ
        ╰☆╮  ผล สรรพคุณเจริญอาหาร บำรุงกระเพาะอาหาร ฝาดสมานและลดไข้ แก้เสมหะเหนียว ฟอกโลหิต ยาบำรุงแก้ปวดมดลูก แก้ไอ บรรเทาโรดริดสีดวงทวาร แก้ลักปิดลักเปิด





หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับท่านผู้อ่านทุกคนนะคะ ^^
คิดถึงบ้านจัง...•:*´¨`*:•. ♫~*
 ข้อมูลจาก :  วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี(2554)

ตะลิงปริง


ตะลิงปริง
            วงศ์  Oxalidaceae
            ชื่อวิทยาศาสตร์   Averrhoa  bilimbi  L.
            ชื่อสามัญ  Bilimbi, Cucumber Tree
            ชื่อท้องถิ่น  หลิงปริง ปลีมิง (เต็ม, 2544)
            ลักษณะทางพฤกษศาสตร์  เป็นไม้ต้นขนาดเล็กสูงประมาณ 10 ม.
ใบเป็นประเภทใบประกอบแบบขนนกที่มีใบเดี่ยวอยู่ตอนปลาย มีใบย่อยประมาณ 25 -45 ใบ ใบย่อยรูปขอบขนานแถบรูปหอก ปลายใบแหลมยาวประมาณ 6 ซม. ออกดอกตามกิ่งข้างและตามลำต้นบนช่อดอกสั้น ๆ กลีบดอกสีม่วงแดง ผลยาวประมาณ 5 ซม. รอบผลเป็นร่องมี 5 ร่อง  เมื่อสุกจะออกสีเขียวอมเหลือง ฉ่ำน้ำ เมล็ดแบนมีรสเปรี้ยว (ดวงจันทร์, 2546)
             สรรพคุณ     ผลและผลอ่อน :   ใช้รับประทานเพื่อเจริญอาหาร บำรุงร่างกาย สมานแผล ขับเหงื่อ แก้ปวดกระดูก แก้ไข้ แก้ไอ แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้ริดสีดวงทวาร ในตำรายาไทย ใช้ผลตะลิงปริง เพื่อแก้เสมหะเหนียว แก้ไอ
             ราก :   ตะลิงปริง ใช้แก้ร้อนใน กระหายน้ำ
             ใบ :   ใช้พอกแก้คัน แก้คางทูมและแก้สิว วิธีใช้ แก้คางทูม ให้ใช้ใบสด 1 กำมือ ตำให้ละเอียด แล้วพอกวันละ 2 ครั้ง ชาวอินโดนีเซียนิยมใช้มาก วิธีใช้แก้สิว ให้ใช้ใบต้มหรือบด ชงน้ำร้อนดื่มแก้ลำไส้ใหญ่อักเสบ แก้ไขข้ออักเสบ แก้กามโรคหรือใช้ทาเพื่อรักษาสิว
              ดอก :   รับประทานแก้ไข้  ต้นอ่อน :  เป็นยาระบาย (ดวงจันทร์,2546)
              สารสำคัญ การตรวจสอบสาร hypoglycemic และ hypolipidemic จากการสกัดใบตะลิงปลิงด้วยสารสกัด ethanolic  ในหนูที่เป็นเบาหวาน  เพื่อเป็นการตรวจสอบผลการสกัด ethanolic จากใบตะลิงปลิง  ทดสอบด้วยสื่อกลาง (น้ำกลั่น) อาทิตย์ละ 2 วัน เป็นเวลา 2 อาทิตย์ โดยสาร Abe ทำให้ปริมาณกลูโคสในเลือดลดต่ำลง 50% เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้น้ำยา Abe จะทำให้ความเข้มข้นของ HDL-cholesterol มากขึ้น 60%  แต่จะส่งผลในการลดกรดในไตลง (Pushparaj et al.,2000)
               สถานที่พบ    งานเกษตรกำแพงแสน  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 
วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม
              ราคา  ต้นละ 40 – 100 บาท ตามขนาดของต้น

ตะลิงปลิงแช่อิ่ม

ตะลิงปลิงแช่อิ่ม



ส่วนผสม                 ตะลิงปลิง               1  กิโลกรัม

                                น้ำตาล                    1  กิโลกรัม

                                เกลือ                       1  ช้อนชา

                                น้ำปูนใส                 5  ถ้วย

วิธีทำ

                1. ล้างตะลิงปลิงให้สะอาด  คลึงบนกระต่ายจีนครั้งละหลายๆ ผล  บีบน้ำเฝื่อนน้ำเปรี้ยวทิ้ง

                2. แช่น้ำปูนใส  ใส่เกลือแช่ทิ้งไว้ประมาณครึ่งชั่วโมง  สงขึ้นและบีบน้ำทิ้งล้างในน้ำสะอาด  แช่น้ำทิ้งไว้สักพักแล้วบีบน้ำทิ้ง

                3.นำลงใส่ขวดโหลหรือชามแก้ว  ตักน้ำตาลเคล้าให้ทั่ว  เติมเกลือ

                4. รุ่งขึ้นเทน้ำตะลิงปลิงออก  แล้วนำไปอุ่นพอร้อนจัด  นำตะลิงปลิงลงใส่แล้ว รีบตักขึ้น  ทิ้งน้ำเชื่อมไว้จนเย็น  จึงนำตะลิงปลิงลงแช่จนอิ่มตัว  นำตะลิงปลิงเรียบตากในถาด

                5. เคี่ยวน้ำตะลิงปลิงเคล้าผสมกัน  ตากอีกครั้ง  ถ้ารสเปรี้ยวจัดเติมน้ำตาลตอนจุ่มตาก  เมื่อแห้งสนิทดีแล้วควรนำขึ้นอบ

สรรพคุณของตะลิงปลิง

ตะลิงปลิงเป็นหนึ่งในไม้ผลที่มีสรรพคุณทางสมุนไพรมาก มายหลายประการ ทุกส่วนของต้นไม่ว่าจะเป็นราก ใบ ดอก และผล ล้วนแต่สามารถนำมาปรุงเป็นยารักษาโรคได้ ตะลิงปลิงเป็นพืชสายพันธ์เดียวกับมะเฟืองจึงมีลักษณะคล้ายกัน เพียงแต่ว่าผลของตะลิงปลิงจะมีขนาดเล็กกว่า
ต้นตะลิงปลิงที่โตเต็มที่มีความสูงได้ถึง 15 เมตร กิ่งก้านสาขาของต้นจะแตกแขนงกระจายออกมามากมาย โดยในแต่ละก้านจะมีใบเรียงสลับกันไปอยู่ประมาณ 11-37 ใบ ผลของตะลิงปลิงเป็นรูปรี เมื่อสุกจะมีสีเหลือง รสชาติเปรี้ยว ฉ่ำน้ำ

ตะลิงปลิง
โดยทั่วไปแล้วเกษตรกรจะนิยมปลูกตะลิงปลิงไว้รับประทาน ผล โดยผลอ่อนจะนำมาใส่อาหารที่ต้องการความเปรี้ยวเช่น ต้มยำ แกงส้ม สามารถนำไปใช้ทำส้มตำได้เช่นกัน หรือหากต้องการรับประทานผลดิบ มักจะจิ้มกับน้ำปลาหวาน หรือกะปิ

สรรพคุณของตะลิงปลิง

ใบตะลิงปลิง นำไปบดชงกับน้ำร้อนหรือนำไปต้ม ดื่มแก้ลำไส้ใหญ่อักเสบและรักษาโรคซิฟิลิส นอกจากนั้นยังสามารถนำใบมาตำพอกรักษาสิว คางทูม ได้เช่นกัน
ดอกตะลิงปลิง มีรสเปรี้ยวฝาด สามารถนำมาชงเป็นน้ำชา ดื่มบรรเทาอาการไอ
รากตะลิงปลิง นำไปตากแห้ง ใช้ต้มดื่มแก้ร้อนใน กระหายน้ำ ช่วยลดไข้ บำรุงกระเพาะอาหาร แก้โลหิตออกตามกระเพาะอาหาร แก้ริดสีดวงทวาร แก้คัน แก้คางทูม แก้ไขข้ออักเสบ รักษาสิว
ผลตะลิงปลิง ต้มรับประทานหรือรับประทานสด ช่วยให้เจริญอาหาร บำรุงกระเพาะอาหาร  ลดไข้ ฟอกโลหิต ยาบำรุงแก้ปวดมดลูก แก้ไอ บรรเทาโรดริดสีดวงทวาร แก้ลักปิดลักเปิด
แม้ว่าผลของตะลิงปลิงจะมีประโยชน์หลายอย่าง มีวิตามินเอสูง แคลอรี่ต่ำ แต่ข้อควรจำอย่างหนึ่งในการรับประทานผลก็คือ ไม่ควรรับประทานมากเกินไป เพราะมีฤทธิ์ทำให้เลือดตกตะกอน
เกษตรกรที่สนใจเพาะปลูกต้นตะลิงปลิง สามารถใช้วิธีเพาะเมล็ดหรือตอนกิ่งก็ได้ แต่การปลูกด้วยวิธีเพาะเมล็ดจะได้ต้นที่แข็งแรงสมบูรณ์กว่า แต่ข้อเสียก็คือเติบโตช้ากว่าตอนกิ่ง กว่าจะได้ผลต้องรอ 2-3 ปี ในขณะที่ตอนกิ่งให้ผลหลังจากปลูกประมาณ 8 เดือน
ลักษณะพื้นที่ซึ่งเหมาะสมในการปลูกตะลิงปลิง คือ ดินร่วนปนทราย ระบายน้ำดี และไม่มีน้ำท่วมขัง
สรรพคุณสุดยอดขนาดนี้ เกษตรกรที่มีพื้นที่เพาะปลูกว่างอยู่ หากยังคิดไม่ออกว่าจะลงต้นไม้อะไรดี ลองนึกถึงตะลิงปลิงดูบ้างก็เข้าท่าไม่น้อย

หลิ้งปิ้ง (ตะลิงปลิง)

                หลายวันก่อนไปติดตามงานที่อำเภอกาบังและได้ไปเยี่ยมบ้านอาสาสมัครเกษตร(พี่ปุ่น) ที่บ้านคชศิลา ตำบลบาละ ที่บ้านแกปลูกต้นไม้หลายชนิดทั้งต้นเทียม ต้นสะเดา มะนาว  มะเดื่อ(ลูกฉิ้ง) และตะลิงปลิง ....ผมเองชอบใจและติดใจไม้แปลกๆและไม้ท้องถิ่น  เช่นลูกฉิ้ง ปลูกกันมาแถวนครศรี สุราษฏร์ ใช้เป็นผักเคียง(ผักเหนาะ)ขนมจีน ตะลิงปลิง ที่จริงแล้วแถวบ้านผมที่นครศร๊ เขาเรียกว่าส้มลิ้งปลิ้ง... ผมเห็นที่บ้านคนข้างบ้านตั้งแต่เด็กๆมาแล้วและมันยังเป็นอาหารประเภทของว่างของกินเล่นของเด็กสมัยก่อน เปรี้ยวสุดๆ จิ้มเกลือ แต่ก็ต้องกิน เพราะไม่มีอะไรกิน และอีกอย่างเมื่อที่บ้านจะแกงส้มก็ให้ผมไปขอส้มตะลิ้งปลิงจากคนข้างบ้านเป็นประจำ ...ฮ่าๆๆเลยจำติดใจมาจนทุกวันนี้

             ตะลิงปลิง เป็นพืชเฉพาะถิ่นเข้าใจว่านำมาจากประเทศอินโดนีเซีย  มาเลเซีย และเข้ามาปลูกแถวภาตใต้ของประเทศไทย ตั้งแต่ยะลามาถึงสุราษฎร์ธานี แต่ก็ปลูกกันไม่แพร่หลาย ตะลิงปลิง เป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ 5-7 เมตร แตกกิ่งก้านสาขามาก ประมาณ 3-5 เมตร ใบ เป็นใบประกอบเรียงตัวกันเป็นคู่ คล้ายใบมะยม  ดอก ออกดอกเป็นช่อตามลำต้นและกิ่งดอกมีสีแดง ติดผลมากตามจำนวนดอก ผล กลมยาวขนาดโตเท่าหัวแม่มือ(โป้ง) ผลเป็นร่อง มีสีเขียวเข้ม ฉ่ำน้ำ  มีรสเปรี้ยวจัด(จิ๊ดๆๆ)

การขยายพันธุ์  การเพาะเมล็ด และการตอนกิ่งที่นิยมทำกัน ส่วนวิธ๊อื่นๆไมต่อยนิยมทำกัน เช่น ติดตา ต่อกิ่ง ทาบกิ่ง

การบริโภค นิยมใช้แกงส้ม  แกงคั้ว ตำน้ำพริก ยำต่างๆ หั่นเป็นชิ้นเล็กๆดองกินกับขนมจีน ใสในยำบูดู และนำไปแปรรูป ดอง ตาก อบแห้ง เชื่อม แช่อิ่ม

สรรพคุณ  ทางสมุนไพร    ผล..บำรุงช่วยให้เจริญอาหาร ขับเสมหะ

                           ใบ  ใช้ใบสด 1 กำมือ ตำให้ละเอียดผสมน้ำสุกนำไปพอกหรือทาบริเวณที่ตัน คางทูม

                           ราก รักษาร้อนในแก้กระหายน้ำ นำรากมาล้างให้สะอาดแล้วต้มในน้ำ นำน้ำมาดืม

      ตะลิงปลิง เป็นพืชท้องถิ่นที่มีปลูกทั่วไป แต่ไม่แพร่หลาย เป็นพืชที่หายากขึ้นเรื่อยๆที่จริงแล้วปลูกง่ายโตเร็ว  ให้ผลดก ถึงแม้ว่าจะไม่มีผลทางเศรษฐกิจ แต่ก็มีคุณค่าทางอาหารและมีสรรพคุณทางยา ควรค่าแก่การอนุรักษ์      แล้วผมก็บอกพี่ปุ่นว่าถ้าพบที่งอกขึ้นมาช่วยเก็บเอาไว้ให้ผมสักต้น 2 ตัน... ผมชอบจริงๆส้มลื้งปิ้ง  ผลดกเป็นพวง สวยงาม โรคแมลงไม่มีมารบกวน....ขอบคุณมากครับ   สวัสดีครับ