Saturday, June 29, 2013

การปลูก ต้นตะลิงปลิง

การปลูก ต้นตะลิงปลิง
          ลักษณะทางธรรมชาติ
http://i1092.photobucket.com/albums/i414/priraya/266.jpg                
       * เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง  ต้นสูงเต็มที่ 5-7 ม.  ทรงพุ่มโปร่งและแตกกิ่งก้านเหมือนมะเฟือง ปลูกได้ทุกพื้นที่ ทุกภาค และทุกฤดูกาล  ชอบดินเหนียวร่วน  มีอินทรีย์วัตถุมากๆ  ต้องการความชื้นสูง  เจริญเติบดีในพื้นที่มีน้ำตลอดปีเหมือนมะพร้าว  ตาล  จาก เช่น  ริมคลอง
               

       * ปลูกบนที่ดอนเมื่อถึงช่วงหน้าแล้งจะผลัดใบพักต้น  เมื่อได้ฝนก็จะแตกใบอ่อนพร้อมกับออกดอก  ส่วนแปลงที่ได้รับน้ำตลอดปี  หลังตัดแต่งกิ่งแล้วแตกใบอ่อนก็จะมีดอกออกมาแบบไม่มีฤดูกาล  
               

       * ออกดอกติดผลตลอดปีละรุ่น  โดยออกดอกช่วงเดือน พ.ย.-ธ.ค.  ผลแก่เก็บเกี่ยวช่วงเดือน มี.ค.-เม.ย.  พร้อมกับมะม่วงปี  แต่ถ้าได้บำรุงแบบให้มีสารอาหารกินตลอด 24 ชม.ต่อเนื่องหลายๆปีก็จะออกดอกติดผลตลอดปีแบบไม่มีรุ่นได้ 
                 

       * เริ่มให้ผลผลิตเมื่ออายุต้น  2  ปีหลังปลูก
               

       * ออกดอกติดผลที่กิ่งแก่และลำต้นเหมือนมะเฟือง ดอกสีชมพูสวยมาก  เป็นดอกสมบูรณ์เพศผสมตัวเองหรือต่างดอกต่างต้นได้
               

       * อายุผลผลิตตั้งแต่ออกดอก ถึง เก็บเกี่ยว 75 วัน
               

       * รสเปรี้ยวจัดกว่ามะนาวมาก
                

          สายพันธุ์
               
          นิยมปลูกเพียงสายพันธุ์เดียว  คือ  พันธุ์พื้นเมือง
                

          การขยายพันธุ์
               
          ตอน (ดีที่สุด). ทาบกิ่ง.  เสียบยอด.  เพาะเมล็ด (ไม่กลายพันธุ์).
                
          ระยะปลูก
               
        - ระยะปกติ  4 X 4  ม. หรือ  6 X 6 ม.
               
        - ระยะชิด    2 X 2  ม. หรือ  2 X 4 ม.
                

          เตรียมดินและอินทรีย์วัตถุ  
               
        - ใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัวเนื้อ/นม + มูลไก่ไข่/เนื้อ/นกกระทา (แห้งเก่าข้ามปี) ปีละ 2 ครั้ง
  
      - ให้ยิบซั่มธรรมชาติ  ปีละ 2 ครั้ง               
        - ให้กระดูกป่น  ปีละ 1 ครั้ง  
               
        - คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆเต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
        - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิงหรือจุลินทรีย์ 1-2 เดือน/ครั้ง               
          หมายเหตุ :
               
        - การฝังซากสัตว์ เช่น หอยเชอรี่  ปลาสด  เป็นชิ้นเท่าลูกมะนาวหรือบดละเอียด ที่ชายเขตทรงพุ่ม 4-5 หลุม/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม. ฝังปีเว้นปี เพื่อให้ต้นมีสารอาหารกินตลอด 24 ชม. ต่อเนื่องหลายๆปีจะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์สูงพร้อมต่อการบำรุงทุกขั้นตอน  
              
        - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ (ทางใบ-ทางราก) บ่อยเกินไปจะทำให้ต้นหยุดการเจริญเติบโต ไม่แตกใบอ่อน  ผลหยุดขยายขนาดแล้วกลายเป็นผลแก่  การให้ทางใบอาจเป็นแหล่งอาศัยและแพร่ระบาดของเชื้อราได้  
               
      
  - ฮอร์โมนธรรมชาติและฮอร์โมนวิทยาศาสตร์จะให้ประสิทธิภาพเต็มร้อยก็ต่อเมื่อ ต้นมีสภาพความสมบูรณ์สูง                

          เตรียมต้น 
                          ตัดแต่งกิ่ง :               
        - ตะลิงปลิงเป็นไม้ทิ้งกิ่งเองเมื่อกิ่งใดแก่ก็จะแห้งแล้วหลุดร่วงได้เอง ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องตัดแต่งกิ่งก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุง อย่างไรก็ตามการปฏิบัติบำรุงตามขั้นตอนย่อมได้ผลดีกว่าปล่อยให้เป็นไปตาม ธรรมชาติ  นั่นคือ  การตัดแต่งกิ่งก็ยังคงมีความสำคัญและจำเป็นอยู่     
               
        - ตัดแต่งเพื่อการแตกยอดใหม่ให้ตัดกิ่งกระโดง  กิ่งในทรงพุ่ม  กิ่งคดงอ  กิ่งชี้ลง  กิ่งไขว้ กิ่งหางหนู กิ่งเป็นโรค  ทั้งนี้ภายในทรงพุ่มควรให้โปร่งจนแสงส่องผ่านลงไปถึงโคนต้นได้
        - ตัดกิ่งทิ้งเพื่อไม่ให้แตกยอดใหม่ป้องกันทรงพุ่มทึบเกินไปให้ตัดชิดลำกิ่งประธาน        - ถ้าต้องการควบคุมขนาดทรงพุ่มก็ต้องตัดกิ่งแก่ กรณีนี้ให้บำรุงต้นก่อนแล้วลงมือตัดได้เลย  กิ่งแก่ใดที่มีใบและกิ่งแขนงติดอยู่มาก หลังจากตัดปลายกิ่งแก่จนเป็นกิ่งด้วนไปแล้วมักมีดอกออกมาตามซอกใบด้วยเสมอ  ซึ่งถ้าต้นสมบูรณ์ดีจริงๆจะมีดอกมากกว่าการตัดปลายกิ่งอ่อนด้วยซ้ำ               
        - ตัดยอดกิ่งประธาน (ผ่ากบาล) ณ ความสูงต้นตามต้องการ  นอกจากช่วยทำให้แสงแดดผ่านจากยอดเข้าสู่ภายในทรงพุ่มได้อย่างทั่วถึงแล้วแสง แดดที่ร้อนยังช่วยกำจัดเชื้อราได้เป็นอย่างดี และเพื่อควบคุมขนาดความสูงทรงพุ่มอีกด้วย
               
        - นิสัยการออกออกดอกของตะลิงปลิงไม่จำเป็นต้องกระทบหนาว การตัดแต่งกิ่ง-เรียกใบอ่อนช่วงต้นหน้าฝนแล้วเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไป ตามลำดับจะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์ดีกว่ากว่าตัดแต่งกิ่งในช่วงอื่น
               
          ตัดแต่งราก :
               
        - ระยะที่ต้นอายุยังน้อยไม่ควรตัดแต่งราก  แต่ถ้าต้องการสร้างรากใหม่ให้มีประสิทธิภาพในการหาอาหารดียิ่งขึ้นใช้วิธี ล่อรากด้วยการพูนโคนต้นด้วยดิน 3 ส่วนกับอินทรีย์วัตถุ 1 ส่วน
        - ต้น อายุหลายปี  ระบบรากเก่าและแก่มาก  ให้พิจารณาตัดแต่งรากส่วนปลายออก 1 ใน 4 ด้วยการพรวนดินรอบทรงพุ่มลึก 10-15 ซม. หลังจากให้ฮอร์โมนบำรุงรากไปแล้วต้นจะแตกรากใหม่จำนวนมากขึ้นและมี ประสิทธิภาพในการดูดซับสารอาหารได้ดีกว่าเดิม 

ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อตะลิงปลิง

  ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อตะลิงปลิง                                        (ให้ได้ผลผลิตรุ่นเดียวกันทั้งต้น)       
http://www.oknation.net/blog/home/album_data/911/27911/album/43501/images/390700.jpg        1.เรียกใบอ่อน           
           ทางใบ :
           
         - ให้น้ำ 100 ล. + 25-5-5 (200 กรัม) หรือ 46-0-0 (200 กรัม) สูตรใดสูตรหนึ่ง+ จิ๊บเบอเรลลิน 10 กรัม + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.  1 ครั้งต่อการเรียกใบอ่อน 1 ชุดฉีดพ่นพอเปียกใบ
           
         - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน
           
           ทางราก :
           
         - ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 25-7-7 (½-1 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน
         - ให้น้ำปกติ  ทุก 2-3 วัน            
           หมายเหตุ :
           
         - ลงมือปฏิบัติทันทีหลังตัดแต่งกิ่งและตัดแต่งรากเสร็จ
           
         - หลังจากให้ทางใบไปแล้ว 5-7 วัน ถ้าต้นใดแตกใบอ่อนน้อยกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ให้ฉีดพ่นซ้ำรอบสองด้วยอัตราและวิธีการเดิม เพราะถ้าต้นแตกใบอ่อนไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้นจะส่งผลเสียหลายอย่างตั้งแต่การ เร่งใบอ่อนเป็นใบแก่  การสะสมอาหารเพื่อการออก  การปรับ ซี/เอ็น เรโช.  การเปิดตาดอก  ซึ่งจะออกดอกไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้น  และเมื่อดอกออกไม่พร้อมกันก็กลายเป็นผลไม่พร้อมกันทำให้ยุ่งยากต่อการ ปฏิบัติบำรุงตามขั้นตอนอย่างมาก....แนวทางแก้ไข คือ ต้องบำรุงเรียกใบอ่อนให้ออกมาเป็นชุดเดียวพร้อมกันทั้งต้นให้ได้ 
           
         - ต้นที่ตัดแต่งกิ่งออกมากๆ (มากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์)  ควรเรียกใบอ่อน 2 ชุด  ส่วนต้นที่ตัดแต่งกิ่งออกไม่มาก (ประมาณ 25-30 เปอร์เซ็นต์) เรียกใบอ่อน 1 ชุดก็พอ 
           
         - ตะลิงปลิงเป็นไม้ผลประเภททิ้งกิ่งเองการตัดแต่งกิ่งควรทำเฉพาะเพื่อควบคุมขนาดทรงพุ่มเท่านั้น
      

        2.เร่งใบอ่อนเป็นใบแก่
           
           ทางใบ :
           
         - ให้น้ำ 100 + 0-21-74 (200 กรัม) หรือ 0-39-39 (200 กรัม) สูตรใดสูตรหนึ่ง + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 กรัม + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. 1-2 รอบ  ห่างกันรอบละ 5-7 วัน  ฉีดพ่นพอเปียกใบ
           
         - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน
           
           ทางราก :
           
         - ให้น้ำตามปกติ  ทุก 2-3 วัน  
           
           หมายเหตุ :
           
         - ลงมือปฏิบัติเมื่อใบเริ่มแผ่กางรับแสงแดดได้
           
         - วัตถุประสงค์เพื่อเร่งใบชุดใหม่ให้สามารถสังเคราะห์อาหารได้  และเร่งระยะเวลาเรียกใบอ่อนชุดต่อไปได้เร็วขึ้น  กับทั้งเพื่อให้ใบอ่อนรอดพ้นจากทำลายของแมลงปากกัดปากดูด
         - สารอาหารในกลุ่มเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่มีฟอสฟอรัส.และโปแตสเซียม. นอกจากช่วยเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่แล้วยังช่วยเสริมประสิทธิภาพขั้นตอนสะสมอาหาร เพื่อการออกดอกได้ด้วย         - ต้นที่สะสมความสมบูรณ์เต็มที่มานานหลายปีติดต่อกัน หลังจากใบอ่อนเริ่มแผ่กางแล้วสามารถข้ามขั้นตอนการบำรุงไปสู่ขั้นตอนเปิด ตาดอกได้เลย ทั้งนี้ฟอสฟอรัส.กับโปแตสเซียม. นอกจากช่วยเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่ได้แล้วยังช่วยเปิดตาดอกได้อีกด้วย       

       3.สะสมอาหารเพื่อการออกดอก
           
          ทางใบ :   
           
        - ให้น้ำ 100 ล. + 0-42-56 (200 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 กรัม 
+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ทุก 5-7 วัน  ฉีดพ่นพอเปียกใบ           
        - ให้น้ำปกติ  ทุก 2-3 วัน
           
        - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน
           
          ทางราก :
           
        - ให้ 8-24-24 (1-2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน
           
        - ให้น้ำปกติ  ทุก 2-3 วัน
           
          หมายเหตุ :
           
        - เริ่มปฏิบัติเมื่อใบเพสลาด
           
        - แนวทางบำรุงให้ต้นได้สะสมอาหารเพื่อการออกดอกไว้มากที่สุดควรเตรียมแผนใช้ เวลาบำรุง 2 เดือน  โดยให้กลูโคสหรือนมสัตว์สดรอบแรกเมื่อเริ่มลงมือบำรุง  และให้รอบสองห่างจากรอบแรก 20-30 วัน 
           
        - วัตถุประสงค์เพื่อให้ต้นได้สะสมสารอาหารทั้งกลุ่มสร้างดอก-บำรุงผล (ซี.) และกลุ่มสร้างใบ-บำรุงต้นไว้ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้  จนกระทั่งเกิดอาการอั้นตาดอก  ไม่มีการแตกใบอ่อนออกมาอีก ถ้าต้นแตกใบอ่อนออกมาใหม่ก็จะต้องย้อนกลับไปบำรุงที่ขั้นตอนเร่งใบ
อ่อนให้เป็นใบแก่อีกครั้งซึ่งทำให้เสียเวลา
           
        - เพื่อให้ต้นได้มีการสะสมอาหารเพื่อการออดอกมากยิ่งขึ้น  แนะนำให้ใส่มูลค้างคาว 100-200 กรัม/ต้นทรงพุ่ม 5 ม. ด้วยการละลายน้ำรดโคนต้นบริเวณชายพุ่มจะเป็นการดียิ่งขึ้น.....ใช้มูลค้าง คาวด้วยความระมัดระวังเพราะในมูลค้างคาวมีสารอาหารในการสร้างเมล็ด อาจมีผลกระทบช่วงบำรุงผลกลาง (หยุดเมล็ด-สร้างเนื้อ) ได้
           
        - ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงขั้นต่อไป คือ ปรับ ซี/เอ็น เรโช. ให้ทบทวนความทรงจำเมื่อครั้งเรียกใบอ่อนแล้วใบอ่อนออกมาพร้อมกันเป็นชุด เดียวทั่วทั้งต้นหรือไม่ ถ้าใบอ่อนออกมาพร้อมกันดีทั่วทั้งต้นให้ปรับ ซี/เอ็น เรโช.ต่อไปได้เลย  แต่ถ้าใบอ่อนออกมาไม่พร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นและค่อนข้างต่างรุ่น กันมากก็ให้บำรุงสะสมอาหารเพื่อการออกดอกต่อไปอีก 2-3 รอบ เพื่อรอให้ใบอ่อนชุดหลังสะสมอาหารจนอั้นตาดอกดีเท่ากับใบอ่อนชุดแรกจากนั้น จึงลงมือ
ปรับ ซี/เอ็น เรโช.  ทั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อทำให้มีดอกออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียวกันทั่วทั้งต้นนั่นเอง
    

         4.ปรับ ซี/เอ็น เรโช
           
            ทางใบ :
           
          - ในรอบ 7-10 วันให้น้ำ 100 ล. + 0-42-56 (200 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ฉีดพ่นพอเปียกใบ  ระวังอย่าให้ลงถึงพื้น
          - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน           
            ทางราก :
           
            งดน้ำ  เปิดหน้าดินโคนต้น
           
            หมายเหตุ :
           
          - ลงมือปฏิบัติเมื่อสังเกตเห็นความสมบูรณ์ของต้นชัดเจน
           
          - ต้นที่มีอาการอั้นตาดอกดีจนพอใจแล้วไม่ต้องฉีดพ่นกลูโคสหรือนมสัตว์สดเพิ่ม อีกแต่ถ้าต้นมีอาการอั้นตาดอกไม่ดีหรือยังไม่น่าพอใจ  แนะนำให้ฉีดพ่นกลูโคสหรือนมสัตว์ทางใบอีกซ้ำอีก 1 รอบ  โดยเว้นระยะเวลาให้ห่างจากที่เคยให้เมื่อช่วงสะสมอาหารไม่น้อยกว่า 30-45 วัน  
           
          - วัตถุประสงค์เพื่อ  “เพิ่ม”  ปริมาณสารอาหารกลุ่มสร้างดอก-บำรุงผล (ซี.)และ  “ลด”  ปริมาณสารอาหารกลุ่มสร้างใบ-บำรุงต้น (เอ็น.)  จนทำให้ ซี.มากว่า เอ็น. ซึ่งจะส่งผลให้เปิดตาดอกได้ง่าย  
      

          5.เปิดตาดอก
           
             ทางใบ :
           
           - ในรอบ 7-10 วันให้น้ำ 100 ล. + ไธโอยูเรีย (500 กรัม) หรือ  0-52-34 (500 กรัม) สูตรใดสูตรหนึ่ง + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 กรัม + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. 1 รอบกับให้น้ำ 100 ล. + ฮอร์โมนไข่ 100 ซีซี. + สาหร่ายทะเล 50 กรัม + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.  อีก 1 รอบ  ฉีดพ่นพอเปียกใบ
           
           - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน
           
             ทางราก :
           
           - ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้น
           
           - ให้น้ำพอหน้าดินชื้นหรือพอให้ต้นได้รู้สึกตัว 
           
             หมายเหตุ :
           
           - ลงมือปฏิบัติเมื่อต้นมีอาการอั้นตาดอกทั่วทั้งต้นหรือทุกจุดที่สามารถออกดอกได้
           - อาจจะพิจารณาใส่ 8-24-24  (100-200 กรัม)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.อีก 1 รอบก็ได้ด้วยการละลายน้ำรดโคนต้นพอหน้าดินชื้นเพื่อเสริมของเก่าที่ใส่เมื่อ ช่วงสะสมอาหารและช่วงที่ปรับ ซี/เอ็น เรโช.             
           - หลังจากเปิดตาดอกแล้ว ถ้าดอกออกมาไม่มากพอ สาเหตุมาจากตั้งแต่ช่วงเรียกใบอ่อนแล้วใบอ่อนออกมาไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้น ระหว่างที่ดอกชุดแรกยังเป็นดอกตูมอยู่นั้น ให้เปิดตาดอกซ้ำอีก 1-2 รอบด้วยสูตรเดิม หรือจนกระทั่งดอกชุดแรกบานแล้วจึงยุติการเปิดตาดอกซ้ำ
       

        6.บำรุงดอก
           
           ทางใบ :
           
         - ให้น้ำ 100 ล. + 15-45-15 (200 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + เอ็นเอเอ. 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.   ฉีดพ่นพอเปียกใบ 1-2 รอบ  ห่างกันรอบละ 5-7 วัน
           
         - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรช่วงค่ำ ทุก 2-3 วัน    
           
           ทางราก :
           
         - ให้  8-24-24 (½ กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.   
          
         - ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้น
            
         - ให้น้ำพอหน้าดินชื้น
           
           หมายเหตุ  :
           
         - ช่วงดอกตั้งแต่เริ่มแทงออกมาให้เห็น (ก้านดอกยาว 1-2 ซม.) หรือระยะดอกตูม  บำรุงด้วยฮอร์โมน เอ็นเอเอ. 1-2 รอบ จะช่วยบำรุงเกสรทั้งตัวผู้และตัวเมียให้สมบูรณ์พร้อมรับผสม แต่ต้องใช้ด้วยระมัดระวังเพราะถ้าให้เข้มข้นเกินไปจะเกิดความเสียหายต่อดอก และถ้าให้อ่อนเกินไปก็จะไม่ได้ผล
           
         - ฉีดพ่นสารอาหารเพื่อบำรุงดอกด้วยเครื่องมือฉีดพ่นที่มีแรงลมพ่นเบาที่สุดตาม ความเหมาะสมเพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนต่อส่วนต่างๆของดอก  ฉีดพ่นที่ช่อดอกโดยตรงพอเปียกหรือฉีดพ่นให้ทั่งทรงพุ่มพอเปียกใบก็ได้
           
         - บำรุงดอกช่วงฝนชุกให้เน้น  “สังกะสี และ แคลเซียม โบรอน”  โดยให้เมื่อดอกออกมาแล้วหรือให้แบบสะสมล่วงหน้าตั้งแต่ช่วงเปิดตาดอก  ให้แบบเดี่ยวๆหรือผสมรวมไปกับธาตุอาหารอื่นๆก็ได้
           
         - ช่วงดอกตูมควรฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้บ่อยขึ้น เพื่อป้องกันกำจัดโรคและแมลงจนถึงช่วงดอกบาน
           
         - ระยะดอกบานถ้าตรงกับช่วงฝนชุกเกสรจะเปียกชื้นทำให้ผสมไม่ติด แก้ไขโดยกะระยะเวลาบำรุงให้ดอกออกมาแล้วไม่ตรงกับช่วงฝนชุกเท่านั้น  แต่ถ้าดอกออกมาตรงกับช่วงแล้งอากาศร้อนมากเกสรจะฝ่อทำให้ผสมไม่ติดเช่นกัน แก้ไขโดยการสร้างความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศและที่พื้นดิน ทั้งในแปลงปลูกและรอบๆแปลงปลูก.........มาตรการบำรุงต้นและดอกให้สมบูรณ์ อย่างแท้จริงอยู่เสมอจะช่วยลดความสูญเสียได้เป็นอย่างมาก 
       

        7.บำรุงผลเล็ก
           
           ทางใบ :
           
         - ให้น้ำ 100 ล.+ 21-7-14 (200 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี. + ฮอร์โมนไข่ 25 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.   ทุก 7-10 วัน  ฉีดพ่นทางใบพอเปียกใบ
          
         - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน
           
           ทางราก :
           
         - ให้น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง + 21-7-14 (½-1 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน
           
         - นำอินทรีย์วัตถุกลับเข้าคลุมโคนต้นพร้อมกับเสริมยิบซั่มธรรมชาติ อัตรา 1 ใน 10 ส่วนของครั้งที่ใส่เมื่อช่วงเตรียมดิน
           
         - ให้น้ำแบบค่อยๆเพิ่มปริมาณน้ำทีละน้อยๆของการให้น้ำ 3-4 รอบเพื่อให้ต้นรู้ตัว
           หมายเหตุ :           
         - เริ่มบำรุงเมื่อผลเท่าเมล็ดถั่วเขียว หรือหลังกลีบดอกร่วง 
           
         - ช่วงผลเล็กเริ่มโชว์รูปทรงผลแล้วให้  “น้ำ 100 ล.+ จิ๊บเบอเรลลิน 10 กรัม”   ฉีดพ่น 1 รอบพอเปียกใบจะช่วยบำรุงผลไม่ให้เกิดอาการผลแตกผลร่วงตลอดอายุผลได้ดี
     

        8.บำรุงผลกลาง
           
           ทางใบ  :
           
           ให้น้ำ 100 ล. + 21-7-14  (200 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม(100 ซีซี.) + ไคโตซาน 100 ซีซี. + แคลเซียม โบรอน 100 ซีซ๊.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ทุก 7-10 วัน  ฉีดพ่นพอเปียกใบ
           ทางราก :           
         - ให้น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง + 21-7-14 (½-1 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน   
           
         - ให้น้ำปกติ  ทุก 2-3 วัน 
           
           หมายเหตุ
 :          
         - เริ่มบำรุงเมื่อเปลือกหุ้มเมล็ดเริ่มแข็ง (เข้าไคล)
           
         - วัตถุประสงค์เพื่อขยายขนาดผลและลดขนาดเมล็ด (หยุดเมล็ด-สร้างเนื้อ)
 
        - ถ้าต้นติดผลดกมากควรให้ฮอร์โมนน้ำดำ กับ แคลเซียม โบรอน 1-2 รอบ โดยแบ่งให้ตลอดระยะผลกลางจะช่วยให้ต้นไม่โทรมเนื่องจากรับภาระเลี้ยงผลมาก      

        9.บำรุงผลแก่
           
           ทางใบ :
           
         - ให้น้ำ 100 ล. + 0-0-50 (200 กรัม) หรือ  0-21-74  (200 กรัม) สูตรใดสูตรหนึ่ง + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. หรือ  น้ำ 100 ล. + มูลค้างคาวสกัด 100 ซีซี. + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. 1-2  รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน  ฉีดพ่นพอเปียกใบ
           
         - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน
           
           ทางราก :
           
         - ให้ 13-13-21 หรือ 8-24-24  สูตรใดสูตรหนึ่ง (½-1 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
         - ให้น้ำเพื่อละลายปุ๋ยแล้วงดน้ำเด็ดขาด           
           หมายเหตุ :
           
         - เริ่มให้ก่อนเก็บเกี่ยว 7-10 วัน 1-2 รอบ  ห่างกันรอบละ 5-7 วัน
         - การให้ 13-13-21 เหมาะสำหรับต้นที่มีผลรุ่นเดียวกันทั้งต้น  แต่หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วต้นมักโทรมจึงต้องเร่งบำรุงฟื้นฟูความ สมบูรณ์ของต้น (เรียกใบอ่อน) กลับคืนมาโดยเร็วแล้วจึงเข้าสู่วงรอบการบำรุงใหม่
 
        - การให้ 8-24-24 เหมาะสำหรับต้นที่มีผลหลายรุ่นในต้นเดียวกันหรือประเภททะวายทยอยออก แบบไม่มีรุ่นซึ่งหลังจากเก็บเกี่ยวผลแก่จัดไปแล้วต้นไม่โทรม  ใน 8-24-24 เป็นปุ๋ยประเภทสะสมอาหารเพื่อการออกดอก ซึ่งจะส่งผลให้กิ่งที่ยังไม่ออกดอกติดผลเกิดอาการอั้นแล้วออกดอกติดผลเป็นผล รุ่นใหม่ขึ้นมาอีกได้             

บำรุงตะลิงปลิงให้ออกดอกติดผลตลอดปี                
         ตะลิงปลิงออก ดอกติดผลได้แบบไม่มีรุ่น หลังจากต้นได้อายุเริ่มให้ผลผลิตแล้วใช้วิธีบำรุงแบบให้มีสารอาหารกินตลอด 24 ชม.ต่อเนื่องติดต่อกันหลายๆปีและหมั่นตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่งเสมอก็จะมี ดอก + ผลหลายรุ่น  ในต้นเดียวกัน  จากนั้นให้ปฏิบัติบำรุง  ดังนี้         ทางใบ :               
       - ให้น้ำ 100 ล. + ฮอร์โมนไข่ 200 ซีซี. +แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 กรัม + สารสกัดสมุนไพร 200 ซีซี.   ฉีดพ่นพอเปียกใบ  ทุก 7-10 วัน
       - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 3-5 วัน                  
        ทางราก  :
               
       - ใส่ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง + 8-24-24 (1/2  กก.)  2 รอบ สลับกับ  21-7-14 (1/2 กก.) 1 รอบ   ห่างกันรอบละ 20-30 วัน
      - ให้น้ำปกติ  ทุก 2-3 วัน               
        หมายเหตุ :
               
      - ให้แคลเซียม โบรอน. และฮอร์โมนน้ำดำ. 1-2 เดือน/ครั้ง    ฉีดพ่นพอเปียกใบ
      - ให้ฮอร์โมนสมส่วนเดือนละ 1 ครั้ง   ฉีดพ่นพอเปียกใบ               
     
 - ให้ทางดินด้วยน้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิงหรือจุลินทรีย์หน่อกล้วย 2-3 เดือน/ครั้ง      - ใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัวเนื้อ/วัวนม + มูลไก่ไข่/ไก่เนื้อ + มูลค้างคาว) + ยิบซั่มธรรมชาติ  6 เดือน/ครั้ง               
      - ใส่กระดูกป่นปีละ 1 ครั้ง
               
      - สวนยกร่องน้ำหล่อให้ลอกเลนก้นร่องขึ้นพูนโคนต้นปีละ 1 ครั้ง
 

ตะลิงปลิง Bilimbi

ตะลิงปลิง

ชื่อวิทยาศาสตร์     Averhoa bilimbi Linn.
วงศ์     OXALIDACEAE
ชื่อสามัญ     Bilimbi
ชื่ออื่นๆ        มะเฟืองตรน, หลิงปลิง(ใต้), กะลิงปริง ปลีมิง ลิงปลิง ลิงปลิง (ระนอง) มูงมัง (เกาะสมุย) บลีมิง (มาเลย์-นราธิวาส)
ถิ่นกำเนิด :    แถบริมทะเลในประเทศบราซิล
ลักษณะทั่วไป :
เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ไม่ผลัดใบ สูง 5-10 เมตร ลำต้นสั้น แตกกิ่งก้านสาขามาก กิ่งมีขนอ่อนนุ่ม หักง่าย เปลือกสีชมพู ผิวเรียบใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ เวียนกันไปเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง แต่ละใบประกอบด้วยใบย่อย 21-45 ใบ รูปไข่หรือรูปขอบขนาน กว้าง1.2-3 ซม. ยาว 2-10 ซม. ท้องใบมีขนสีเหลือง ขอบใบเรียบ หรือ เป็นคลื่นเล็กน้อย ดอกช่อ ออกที่โคนต้นหรือกิ่งก้าน ยาว 5-20 ซม.กลีบดอกสีม่วงเข้ม ผลกว้างประมาณ2.5 ยาว5-9ซม.ผลสด ฉ่ำน้ำ สีเหลือง แกมเขียว ผิวบาง เรียบ รสเปรี้ยวจัด
สรรพคุณ
แก้ไข้สวิงสวาย ดับพิษร้อนของไข้ บำรุงกระเพาะอาหาร แก้โลหิตออกตามลำไส้ แก้ริดสีดวงทวาร แก้คางทูม แก้ไขข้ออักเสบ รักษาสิวแก้ซิฟิลิส รักษาโรคเก๊าท์ แก้ไอ แก้เสมหะเหนียว แก้ปวดมดลูก
ในส่วนที่กินได้ 100 กรัม ของผลตะลิงปลิง
มีน้ำเป็นองค์ประกอบ 92.5 กรัม ในพลังงาน 27 กิโลแคลลอรี่ มีไขมัน 0.3 กรัม คาร์โบไฮเดรท 6.3 กรัม เส้นใย 0.6 กรัม โปรตีน 0.6 กรัม แคลเซียม 5 มิลลิกรัม เหล็ก 0.6 มิลลอกรัม วิตามินเอ 175 Internation Unit วิตามินบี 1   0.02 มิลลิกรัมและ วิตามินซี 35 มิลลิกรัม
การปลูก
ตะลิงปลิงเป็นพรรณไม้ ท้องถิ่นของประเทศในเขตเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้ยังพบในประเทศบราซิล ในเมืองไทยเป็นไม้ที่ชาวบ้านนำมาปลูกตามบ้าน ตะลิงปลิงชอบดินร่วนปนทราย ตะลิงปลิงขยายพันธุ์ได้หลายวิธี คือ การเพาะเมล็ดการติดตา การต่อกิ่ง การทาบกิ่งและการตอนกิ่ง การตอนกิ่งเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมและดีกว่าวิธีอื่น
สรรพคุณในตำรายาไทย
ราก : สรรพคุณแก้พิษร้อนใน กระหายน้ำ ฝาดสมาน บำรุงกระเพาะอาหาร แก้โลหิตออกตามกระเพาะอาหาร ลำไส้ ดับพิษร้อนของไข้
          แก้ริดสีดวงทวาร แก้คัน แก้คางทูม แก้ไขข้ออักเสบ รักษาสิว รักษาซิลิส บรรเทาโรคเก๊าท์ บรรเทาการอักเสบของลำไส้ใหญ่
ใบ :   สรรพคุณใช้พอกแก้คัน ใช้ภายในโดยนำมาต้มดื่มรักษาอาการอักเสบของลำไส้ใหญ่ รักษาซิฟิลิส แก้ไขข้ออักเสบ รักษาคางทูม  รักษาสิว
ดอก : นำมาชงเป็นชา สรรพคุณแก้ไอ
ผล : สรรพคุณเจริญอาหาร บำรุงกระเพาะอาหาร ฝาดสมานและลดไข้ แก้เสมหะเหนียว ฟอกโลหิต ยาบำรุงแก้ปวดมดลูก แก้ไอ บรรเทาโรดริดสีดวงทวาร แก้ลักปิดลักเปิด

ตะลิงปลิง...สวย..เปรี้ยว..สะใจ

ตะลิงปลิง...สวย..เปรี้ยว..สะใจ

ภาพชุดนี้ ตั้งใจทำขึ้นมาเพื่อใช้ในโครงการที่จะส่งเสริมให้เยาวชน หันมาสนใจในการ ปลูกต้นไม้ ชนิดที่จะดูดอกสวยงามก็ได้  หรือจะใช้กินผลได้ด้วยบังเอิญในช่วงนี้มีภารกิจมากมายรุมเข้ามา ทั้งงานรับปริญญา งานพิธี งานถ่ายคน ถ่ายแมลง อีกมากมาย ภาพชุดนี้จึงออกมาค่อนข้างช้าและได้ปริมาณเพียงวันละนิด ต้องแบ่งเวลาไปทำอย่างอื่นด้วย  แม้จะทำงานได้น้อยและช้าแต่ก็ยินดีเต็มใจทำงานให้กับโครงการที่เป็นประโยชน์ ต่อเยาวชนและสังคมนี้เต็มที่ครับ

     ตะลิงปลิง  เป็นไม้พุ่มยืนต้นขนาดกลาง  สามารถปลูกลงในกระถางได้  มีกิ่งก้านสาขามาก เปราะหักง่าย เปลือกต้นมีสีชมพู ผิวเรียบมีขนนุ่มปกคลุมตามกิ่ง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีชื่อเรียกตามภาษาท้องถิ่นมากมาย ดังเช่น ลิงปิ้ง หลิ้งปิ้ง หลี้งตี้ง ลีหมิง เฟืองเทศ มะเฟืองตรน หลิงปลิง (ใต้) กะลิงปริง ปลีมิง ลิงปลิง  (ระนอง) มูงมัง (เกาะสมุย) บลีมิง (มาเลย์-นราธิวาส)



การปลูกและดูแลรักษา
ตะลิงปลิงปลูกเลี้ยงง่าย ชอบดินร่วนปนทราย ระบายน้ำดี แต่ไม่ทนน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน นิยมขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดหรือตอนกิ่ง ซึ่งต้นที่ได้จากการเพาะเมล็ดจะมีทรงพุ่มสูงใหญ่ และแข็งแรงกว่าต้นที่ได้ตอนกิ่ง แต่จะใช้เวลา 2-3 ปี จึงจะมีดอกมีผล ขณะที่ต้นจากการตอนกิ่งจะให้ผลหลังจากการปลูก 5-8 เดือน หลังจากปลูกได้นาน 3-4 เดือนควรหมั่นตัดแต่งกิ่งให้เป็นพุ่ม ถ้าไม่ต้องการให้ต้นสูงมากก็ตัดส่วนยอดออกเพื่อให้แตกกิ่งข้าง ๆ จะช่วยให้เก็บผลได้ง่าย ควรใส่ปุ๋ยคอกสลับกับปุ๋ยเคมีบ้างทุก 3 เดือน


  ตอนนี้เรามาดูคุณประโยชน์ของใบกันก่อน
  ภาพนี้เป็นยอดอ่อนของตะลิงปลิงที่แตกกิ่งก้านออกมา ยอดอ่อนและก้านดอกใช้จิ้มน้ำพริก กินสดหรือลวกก็อร่อย หรือจะใช้ใบอ่อน ใบแก่ ได้ทั้งนั้น และเมนูแซ่บอีกชนิดคือ ใบกินแกล้มกับส้มตำ อร่อยอย่าบอกใคร

  สรรพคุณอื่นๆของใบตะลิงปลิง ใช้พอกแก้คัน โรคข้อรูมาตอยด์
ใช้ภายในโดยนำมาต้มดื่มรักษาอาการอักเสบของลำไส้ใหญ่ รักษาซิฟิลิส แก้ไขข้ออักเสบ รักษาคางทูม รักษาสิว




    เอาละตอนนี้เริ่มมีดอกตูมๆออกมาแล้ว ช่อดอกเป็นกระจุกอยู่ตามลำต้นตามกิ่ง (ดอกขนาดเล็กหลายช่อ)  มีกลีบดอกสีแดงอมม่วง ขนาดประมาณ 1.5 เซนติเมตร ดอกมี 5 กลีบ และมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ทยอยบานได้นาน 1-2 สัปดาห์ขึ้นอยู่กับความดกของดอก



  
  ช่อดอกจากภาพที่แล้วมีดอกเดียว ในภาพนี้ มีหลายดอก ถ้าบำรุงต้น บำรุงดินดีๆ ก็จะมีดอกดกนับเป็นสิบดอก ในภาพด้านซ้ายจะเห็นว่าติดลูกอ่อนมาแล้ว เรานำดอกตะลิงปลิงมาชงเป็นชา ซึ่งมีสรรพคุณแก้ไอได้



   ตะลิงปลิงออกดอกเป็นช่อตามลำต้นและกิ่ง
แต่ละช่อยาวราว 4 - 6 นิ้ว
ดอกมี 5 กลีบ มีสีแดงเข้ม
มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบสีเขียวอมชมพู 
   
ตะลิงปลิงมีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย

ก็ยังต้องมีการผสมเกสรอยู่ดี จึงจะติดลูก




       แมลง และกระแสลม มักจะเป็นผู้ที่ช่วยผสมเกสร
แต่ในบางกรณี อาจไม่มีแมลงเป็นตัวช่วย
เราสามารถช่วยผสมเกสรให้ตะลิงปลิงได้ง่ายๆ
ใช้แปรงหรือพู่กันขนอ่อนช่วยจิ้มผสมเกสรให้ดอกตะลิงปลิง
ง่ายๆอย่างนี้เอง....สไตล์ลุงชาติ
รับประกัน....ได้ผลแน่นอน

 


เมื่อดอกได้รับการผสมเกสร ตะลิงปลิงก็จะติดผล
ผลของตะลิงปลิงมีรูปรี ป้อม ยาวประมาณ 3 - 10 เซนติเมตร กว้างประมาณ 2 เซนติเมตร ฉ่ำน้ำ ปลายแหลม และเว้าเป็นพูตื้น ๆ 4 - 5 พู สีเขียวอมเหลือง เมื่อสุกเป็นสีเหลือง เนื้อเหลว ออกเป็นช่อห้อย รสเปรี้ยว เมล็ดแบน



  ในประเทศไทยส่วนที่นิยมใช้กินคือผลอ่อน ผลตะลิงปลิงมีรสเปรี้ยวจัด นิยมใช้แกงส้ม แกงคั่ว ทำน้ำพริก ต้มหมู ต้มเนื้อ ยำต่างๆ นำมาดอง หรือหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ กินกับขนมจีน ใส่ในน้ำบูดู หรือใช้แทนมะนาว


   
   สรรพคุณของผลตะลิงปลิง ช่วยให้เจริญอาหาร บำรุงกระเพาะอาหาร ฝาดสมานและลดไข้ แก้เสมหะเหนียว ฟอกโลหิต เป็นยาบำรุงแก้ปวดมดลูก แก้ไอ บรรเทาโรคริดสีดวงทวาร แก้ลักปิดลักเปิด


 
  การเก็บผลตะลิงปลิง สามารถเริ่มที่จะทยอยเก็บได้ตั้งแต่ดอกติดผลได้ประมาณ 1-2 เดือน โดยเลือกเก็บผลที่มีสีเขียวอมเหลืองเล็กน้อย เพราะเนื้อจะกรอบและได้รสที่กลมกล่อม ไม่ควรเก็บผลที่มีสีเหลือง เพราะเนื้อจะเละ ผลตะลิงปลิงสามารถเก็บรักษา ถนอมคุณค่าอาหารได้โดยการล้างให้สะอาด ผึ่งให้แห้ง ใส่กล่องแล้วนำไปเก็บไว้ในตู้เย็น จะเก็บได้ประมาณ 1-2 สัปดาห์



   สวยสด.....เปรี้ยวจี๊ด....สะใจ
ใช้ประโยชน์ได้ทั้งใบ ดอก และผล อย่างนี้
ไม่อยากปลูกไว้สักต้นหรือครับ
ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาให้กำลังใจครับ
ขอบคุณ OkNATION.NET
ที่ให้พื้นที่ดีๆในการแบ่งปันความสุข
ขอบคุณครับ


เคล็ดลับวิธีการปลูกต้นตะลิงปลิง

เคล็ดลับวิธีการปลูกต้นตะลิงปลิง

ปลูกตะลิงปลิง

ตะลิงปลิงเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่สามารถปลูกได้ทั่วทุกภาคทุกพื้นที่ของประเทศไทย เป็นต้นไม้ที่ปลูกค่อนข้างง่าย ชอบดินที่มีลักษณะร่วนปนทราย แต่ไม่ชอบที่ชื้นแฉะ มีน้ำขัง ต้นสูงเต็มที่ได้ 5-7 เมตร ลักษณะเป็นทรงพุ่ม โปร่ง แตกกิ่งก้านสาขาคล้ายมะเฟือง เมื่อต้นโตได้ 2-3 ปี จะให้ผลที่มีรสเปรี้ยวมาก

วิธีการปลูกตะลิงปลิง สามารถทำได้หลายวิธี แต่ที่นิยมคือการตอนกิ่ง เพราะจะให้ผลผลิตที่ไวกว่า แต่หากไม่สะดวกในการตอนกิ่ง ก็สามารถใช้วิธีการเพาะเมล็ดก็ได้ค่ะ โดยผลสุกของตะลิงปลิงจะมีเมล็ดอยู่ข้างใน ให้นำออกมาผึ่งให้แห้ง จากนั้นนำไปเพาะใส่ในดินร่วน หรือขี้เถ้าแกลบก็ได้ค่ะ ประมาณ 5-7 วันเมล็ดจะเริ่มงอกเป็นต้น เมื่อต้นเติบโตจึงค่อยย้ายลงดิน โดยเลือกในบริเวณที่เป็นดินร่วนปนทราย และต้องสามารถระบายน้ำได้ดี ที่สำคัญมากคือ อย่าให้น้ำท่วมขัง ไม่เช่นนั้นต้นตะลิงปลิงจะตายได้ค่ะ
และถ้าหากไม่ต้องการให้ต้นสูงเกินไป ก็หมั่นตัดแต่งกิ่ง และยอดบ้างเพื่อไม่ให้ต้นพุ่งสูงมากเกินไปนัก ตะลิงปลิงจะออกดอกในช่วงฤดูหนาว ประมาณเดือน พ.ย. – ธ.ค. แต่ถ้าดูแลดีๆ ใส่ปุ๋ย ให้แร่ธาตุจนต้นสมบูรณ์ ตะลิงปลิงก็จะสามารถออกดอก ออกผล ได้ตลอดทั้งปีเลยทีเดียวค่ะ


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ตะลิงปลิงเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีกิ่งก้านสาขามาก เปราะหักง่าย เปลือกต้นมีสีชมพู ผิวเรียบมีขนนุ่มปกคลุมตามกิ่ง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ก้านใบหนึ่งประกอบด้วยใบย่อย 11-37 ใบ กว้างประมาณ 1 เซนติเมตร ยาว 2-5 เซนติเมตร มีสีเขียวอ่อนมีขนนุ่มๆ ปกคลุมอยู่ ปลายคี่เรียงสลับกัน ใบย่อยรูปขอบขนาน ปลายเรียวแหลม ช่อดอกเป็นกระจุกอยู่ตามลำต้น มีกลีบดิกสีแดงอมม่วง ขนาดประมาณ 1.5 เซนติเมตร ดอกมี 5 กลีบ และมีกลิ่นอ่อน ๆ ทยอยบานได้นาน 1-2 สัปดาห์ขึ้นอยู่กับความดก เกสรกลางดอกมีสีเขียว ผลรูปรี ป้อม ยาว 4-10 เซนติเมตร กว้างประมาณ 2 เซนติเมตร ฉ่ำน้ำ ปลายแหลม และเว้าเป็นพูตื้น ๆ 4 พู สีเขียวอมเหลือง เมื่อสุกเป็นสีเหลือง เนื้อเหลว ออกเป็นช่อห้อย รสเปรี้ยว เมล็ดแบน
การบริโภค

ผลมีรสเปรี้ยว เป็นที่นิยมเก็บผลอ่อนมากินกับกะปิ น้ำปลาหวาน เกลือ หรือนำมาทำส้มตำตะลิงปลิง หรือกินกับอาหารรสจัด หรือใช้เป็นเครื่องปรุงใส่ในอาหารที่ต้องการความเปรี้ยว เช่น แกงส้ม ต้มยำ เป็นต้น หรือจะนำมาแช่อิ่มก็ได้ หรือจะนำมาทำน้ำผลไม้ ซึ่งจะให้แคลอรีต่ำ มีวิตามินเอสูง แต่ไม่ควรกินติดต่อกันเป็นจำนวนมาก ๆ หรือเป็นระยะเวลานาน ๆ เพราะจะทำให้เลือดตกตะกอนได้
วิธีเก็บผล

สามารถเริ่มที่จะทยอยเก็บได้ตั้งแต่ดอกติดผลได้ประมาณ 1-2 เดือน โดยเลือกเก็บผลที่มีสีเขียวอมเหลืองเล็กน้อย เพราะเนื้อจะกรอบและได้รสที่กลมกล่อม ไม่ควรเก็บผลที่มีสีเหลือง เพราะเนื้อจะเละ ผลตะลิงปลิงสามารถเก็บรักษาโดยการล้างให้สะอาด ผึ่งให้แห้ง ใส่กล่องแล้วนำไปเก็บไว้ในตู้เย็น จะเก็บได้ประมาณ 1-2 สัปดาห์
สรรพคุณ ในตำรายาไทย

    ราก สรรพคุณแก้พิษร้อนใน กระหายน้ำ ฝาดสมาน บำรุงกระเพาะอาหาร แก้โลหิตออกตามกระเพาะอาหาร ลำไส้ ดับพิษร้อนของไข้ แก้ริดสีดวงทวาร แก้คัน แก้คางทูม แก้ไขข้ออักเสบ รักษาสิว รักษาซิลิส บรรเทาโรคเก๊าท์ บรรเทาการอักเสบของลำไส้ใหญ่
    ใบ สรรพคุณใช้พอกแก้คัน ใช้ภายในโดยนำมาต้มดื่มรักษาอาการอักเสบของลำไส้ใหญ่ รักษาซิฟิลิส แก้ไขข้ออักเสบ รักษาคางทูม รักษาสิว
    ดอก นำมาชงเป็นชา สรรพคุณแก้ไอ
    ผล สรรพคุณเจริญอาหาร บำรุงกระเพาะอาหาร ฝาดสมานและลดไข้ แก้เสมหะเหนียว ฟอกโลหิต ยาบำรุงแก้ปวดมดลูก แก้ไอ บรรเทาโรดริดสีดวงทวาร แก้ลักปิดลักเปิด

การปลูกและดูแลรักษา

ตะลิงปลิงปลูกเลี้ยงง่าย ชอบดินร่วนปนทราย ระบายน้ำดี แต่ไม่ทนน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน นิยมขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดหรือตอนกิ่ง ซึ่งต้นที่ได้จากการเพาะเมล็ดจะมีทรงพุ่มสูงใหญ่ และแข็งแรงกว่าต้นที่ได้ตอนกิ่ง แต่จะใช้เวลา 2-3 ปี จึงจะมีดอกมีผล ขณะที่ต้นจากการตอนกิ่งจะให้ผลหลังจากการปลูกลงดิน 5-8เดือน หลังจากปลูกได้นาน 3-4 เดือนควรหมั่นตัดแต่งกิ่งให้เป็นพุ่ม ถ้าไม่ต้องการให้ต้นสูงมากก็ตัดส่วนยอดออกเพื่อให้แตกกิ่งข้าง ๆ จะช่วยให้เก็บผลได้ง่าย ควรใส่ปุ๋ยคอกสลับกับปุ๋ยเคมีบ้างทุก 3 เดือน

Friday, May 17, 2013

ตะลิงปลิง


ตะลิงปลิง
        วันนี้เปิดคอมฯไปเจอรูปตะลิงปิงที่ถ่ายรูปเก็บไว้ตอนกลับบ้าน ก็เลยว่าลองหาข้อมูลดูดีกว่า ว่าไอ้เจ้า "ตะลิงปลิง" เนืี่ย มีประโยชน์เป็นยังไงบ้าง เพราะรสชาติ เปี๊ยวจี๊ดถึงใจ..นึกถึงก็เปรี๊ยวปาก น้ำลายสอกันเลย (จิ้มกับกะปิ) ว๊าย!! ..ไม่ไหวแล้ว..






(ภาพถ่ายต้นตะลิงปลิงที่บ้าน ตอนที่โทรศัพท์ยังไม่เสีย T_______T! )

     เห็นแล้วก็เปรี๊ยวปาก  อยากกิน ฮ่าๆๆ
    ก่อนอื่นมารู้จักที่มาที่ไปของตะลิงปลิงกันก่อนดีกว่า..ไปกันเลย!!!。◕‿◕。

v
v

ตะลิงปลิง  เป็นไม้ผลผลในวงศ์ Oxalidaceae เป็นพืชเขตร้อน มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบชายฝั่งทะเลของบราซิล เป็นไม้ยืนต้น สูงได้ถึง 15 เมตร ออกผลตามกิ่งก้านและลำต้นเป็นพวงแน่นและสวยงาม จึงเป็นที่นิยิมปลูกทั่วไป นอกจากนี้ผลยังสามารถใช้บริโภค ตะลิงปลิงเป็นพืชร่วมวงศ์กับมะเฟือง มีส่วนที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนคือ ผลมะเฟืองมีขนาดใหญ่กว่าผลตะลิงปลิง (จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี)







×÷·.·´¯`·)»ลักษณะทางพฤกษศาสตร์«(·´¯`·.·÷× ♫
 ตะลิงปลิงเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีกิ่งก้านสาขามาก เปราะหักง่าย เปลือกต้นมีสีชมพู ผิวเรียบมีขนนุ่มปกคลุมตามกิ่ง
εїз  ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ก้านใบหนึ่งประกอบด้วยใบย่อย 11-37 ใบ กว้างประมาณ 1 เซนติเมตร ยาว 2-5 เซนติเมตร มีสีเขียวอ่อนมีขนนุ่มๆ ปกคลุมอยู่ ปลายคี่เรียงสลับกัน ใบย่อยรูปขอบขนาน ปลายเรียวแหลม
εїз ช่อดอกเป็นกระจุกอยู่ตามลำต้น มีกลีบดิกสีแดงอมม่วง ขนาดประมาณ 1.5 เซนติเมตร ดอกมี 5 กลีบ และมีกลิ่นอ่อน ๆ ทยอยบานได้นาน 1-2 สัปดาห์ขึ้นอยู่กับความดก เกสรกลางดอกมีสีเขียว
εїз ผลรูปรี ป้อม ยาว 4-10 เซนติเมตร กว้างประมาณ 2 เซนติเมตร ฉำ้น้ำ ปลายแหลม และเว้าเป็นพูตื้น ๆ 4 พู สีเขียวอมเหลือง เมื่อสุกเป็นสีเหลือง เนื้อเหลว ออกเป็นช่อห้อย รสเปรี้ยว เมล็ดแบน
       **  ผลมีรสเปรี้ยว เป็นที่นิยมเก็บผลอ่อนมากินกับกะปิ น้ำปลาหวาน เกลือ หรือนำมาทำส้มตำตะลิงปลิง หรือกินกับอาหารรสจัด หรือใช้เป็นเครื่องปรุงใส่ในอาหารที่ต้องการความเปรี้ยว เช่น แกงส้ม ต้มยำ เป็นต้น หรือจะนำมาแช่อิ่มก็ได้ หรือจะนำมาทำน้ำผลไม้ ซึ่งจะให้แคลอรีต่ำ มีวิตามินเอสูง แต่ไม่ควรกินติดต่อกันเป็นจำนวนมาก ๆ หรือเป็นระยะเวลานาน ๆ เพราะจะทำให้เลือดตกตะกอนได้

×÷·.·´¯`·)» ...สรรพคุณ...«(·´¯`·.·÷×

         ╰☆╮ ราก สรรพคุณแก้พิษร้อนใน กระหายน้ำ ฝาดสมาน บำรุงกระเพาะอาหาร แก้โลหิตออกตามกระเพาะอาหาร ลำไส้ ดับพิษร้อนของไข้ แก้ริดสีดวงทวาร แก้คัน แก้คางทูม แก้ไขข้ออักเสบ รักษาสิว รักษาซิลิส บรรเทาโรคเก๊าท์ บรรเทาการอักเสบของลำไส้ใหญ่
         ╰☆╮ ใบ สรรพคุณใช้พอกแก้คัน ใช้ภายในโดยนำมาต้มดื่มรักษาอาการอักเสบของลำไส้ใหญ่ รักษาซิฟิลิส แก้ไขข้ออักเสบ รักษาคางทูม รักษาสิว
        ╰☆╮  ดอก นำมาชงเป็นชา สรรพคุณแก้ไอ
        ╰☆╮  ผล สรรพคุณเจริญอาหาร บำรุงกระเพาะอาหาร ฝาดสมานและลดไข้ แก้เสมหะเหนียว ฟอกโลหิต ยาบำรุงแก้ปวดมดลูก แก้ไอ บรรเทาโรดริดสีดวงทวาร แก้ลักปิดลักเปิด





หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับท่านผู้อ่านทุกคนนะคะ ^^
คิดถึงบ้านจัง...•:*´¨`*:•. ♫~*
 ข้อมูลจาก :  วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี(2554)

ตะลิงปริง


ตะลิงปริง
            วงศ์  Oxalidaceae
            ชื่อวิทยาศาสตร์   Averrhoa  bilimbi  L.
            ชื่อสามัญ  Bilimbi, Cucumber Tree
            ชื่อท้องถิ่น  หลิงปริง ปลีมิง (เต็ม, 2544)
            ลักษณะทางพฤกษศาสตร์  เป็นไม้ต้นขนาดเล็กสูงประมาณ 10 ม.
ใบเป็นประเภทใบประกอบแบบขนนกที่มีใบเดี่ยวอยู่ตอนปลาย มีใบย่อยประมาณ 25 -45 ใบ ใบย่อยรูปขอบขนานแถบรูปหอก ปลายใบแหลมยาวประมาณ 6 ซม. ออกดอกตามกิ่งข้างและตามลำต้นบนช่อดอกสั้น ๆ กลีบดอกสีม่วงแดง ผลยาวประมาณ 5 ซม. รอบผลเป็นร่องมี 5 ร่อง  เมื่อสุกจะออกสีเขียวอมเหลือง ฉ่ำน้ำ เมล็ดแบนมีรสเปรี้ยว (ดวงจันทร์, 2546)
             สรรพคุณ     ผลและผลอ่อน :   ใช้รับประทานเพื่อเจริญอาหาร บำรุงร่างกาย สมานแผล ขับเหงื่อ แก้ปวดกระดูก แก้ไข้ แก้ไอ แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้ริดสีดวงทวาร ในตำรายาไทย ใช้ผลตะลิงปริง เพื่อแก้เสมหะเหนียว แก้ไอ
             ราก :   ตะลิงปริง ใช้แก้ร้อนใน กระหายน้ำ
             ใบ :   ใช้พอกแก้คัน แก้คางทูมและแก้สิว วิธีใช้ แก้คางทูม ให้ใช้ใบสด 1 กำมือ ตำให้ละเอียด แล้วพอกวันละ 2 ครั้ง ชาวอินโดนีเซียนิยมใช้มาก วิธีใช้แก้สิว ให้ใช้ใบต้มหรือบด ชงน้ำร้อนดื่มแก้ลำไส้ใหญ่อักเสบ แก้ไขข้ออักเสบ แก้กามโรคหรือใช้ทาเพื่อรักษาสิว
              ดอก :   รับประทานแก้ไข้  ต้นอ่อน :  เป็นยาระบาย (ดวงจันทร์,2546)
              สารสำคัญ การตรวจสอบสาร hypoglycemic และ hypolipidemic จากการสกัดใบตะลิงปลิงด้วยสารสกัด ethanolic  ในหนูที่เป็นเบาหวาน  เพื่อเป็นการตรวจสอบผลการสกัด ethanolic จากใบตะลิงปลิง  ทดสอบด้วยสื่อกลาง (น้ำกลั่น) อาทิตย์ละ 2 วัน เป็นเวลา 2 อาทิตย์ โดยสาร Abe ทำให้ปริมาณกลูโคสในเลือดลดต่ำลง 50% เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้น้ำยา Abe จะทำให้ความเข้มข้นของ HDL-cholesterol มากขึ้น 60%  แต่จะส่งผลในการลดกรดในไตลง (Pushparaj et al.,2000)
               สถานที่พบ    งานเกษตรกำแพงแสน  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 
วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม
              ราคา  ต้นละ 40 – 100 บาท ตามขนาดของต้น

ตะลิงปลิงแช่อิ่ม

ตะลิงปลิงแช่อิ่ม



ส่วนผสม                 ตะลิงปลิง               1  กิโลกรัม

                                น้ำตาล                    1  กิโลกรัม

                                เกลือ                       1  ช้อนชา

                                น้ำปูนใส                 5  ถ้วย

วิธีทำ

                1. ล้างตะลิงปลิงให้สะอาด  คลึงบนกระต่ายจีนครั้งละหลายๆ ผล  บีบน้ำเฝื่อนน้ำเปรี้ยวทิ้ง

                2. แช่น้ำปูนใส  ใส่เกลือแช่ทิ้งไว้ประมาณครึ่งชั่วโมง  สงขึ้นและบีบน้ำทิ้งล้างในน้ำสะอาด  แช่น้ำทิ้งไว้สักพักแล้วบีบน้ำทิ้ง

                3.นำลงใส่ขวดโหลหรือชามแก้ว  ตักน้ำตาลเคล้าให้ทั่ว  เติมเกลือ

                4. รุ่งขึ้นเทน้ำตะลิงปลิงออก  แล้วนำไปอุ่นพอร้อนจัด  นำตะลิงปลิงลงใส่แล้ว รีบตักขึ้น  ทิ้งน้ำเชื่อมไว้จนเย็น  จึงนำตะลิงปลิงลงแช่จนอิ่มตัว  นำตะลิงปลิงเรียบตากในถาด

                5. เคี่ยวน้ำตะลิงปลิงเคล้าผสมกัน  ตากอีกครั้ง  ถ้ารสเปรี้ยวจัดเติมน้ำตาลตอนจุ่มตาก  เมื่อแห้งสนิทดีแล้วควรนำขึ้นอบ

สรรพคุณของตะลิงปลิง

ตะลิงปลิงเป็นหนึ่งในไม้ผลที่มีสรรพคุณทางสมุนไพรมาก มายหลายประการ ทุกส่วนของต้นไม่ว่าจะเป็นราก ใบ ดอก และผล ล้วนแต่สามารถนำมาปรุงเป็นยารักษาโรคได้ ตะลิงปลิงเป็นพืชสายพันธ์เดียวกับมะเฟืองจึงมีลักษณะคล้ายกัน เพียงแต่ว่าผลของตะลิงปลิงจะมีขนาดเล็กกว่า
ต้นตะลิงปลิงที่โตเต็มที่มีความสูงได้ถึง 15 เมตร กิ่งก้านสาขาของต้นจะแตกแขนงกระจายออกมามากมาย โดยในแต่ละก้านจะมีใบเรียงสลับกันไปอยู่ประมาณ 11-37 ใบ ผลของตะลิงปลิงเป็นรูปรี เมื่อสุกจะมีสีเหลือง รสชาติเปรี้ยว ฉ่ำน้ำ

ตะลิงปลิง
โดยทั่วไปแล้วเกษตรกรจะนิยมปลูกตะลิงปลิงไว้รับประทาน ผล โดยผลอ่อนจะนำมาใส่อาหารที่ต้องการความเปรี้ยวเช่น ต้มยำ แกงส้ม สามารถนำไปใช้ทำส้มตำได้เช่นกัน หรือหากต้องการรับประทานผลดิบ มักจะจิ้มกับน้ำปลาหวาน หรือกะปิ

สรรพคุณของตะลิงปลิง

ใบตะลิงปลิง นำไปบดชงกับน้ำร้อนหรือนำไปต้ม ดื่มแก้ลำไส้ใหญ่อักเสบและรักษาโรคซิฟิลิส นอกจากนั้นยังสามารถนำใบมาตำพอกรักษาสิว คางทูม ได้เช่นกัน
ดอกตะลิงปลิง มีรสเปรี้ยวฝาด สามารถนำมาชงเป็นน้ำชา ดื่มบรรเทาอาการไอ
รากตะลิงปลิง นำไปตากแห้ง ใช้ต้มดื่มแก้ร้อนใน กระหายน้ำ ช่วยลดไข้ บำรุงกระเพาะอาหาร แก้โลหิตออกตามกระเพาะอาหาร แก้ริดสีดวงทวาร แก้คัน แก้คางทูม แก้ไขข้ออักเสบ รักษาสิว
ผลตะลิงปลิง ต้มรับประทานหรือรับประทานสด ช่วยให้เจริญอาหาร บำรุงกระเพาะอาหาร  ลดไข้ ฟอกโลหิต ยาบำรุงแก้ปวดมดลูก แก้ไอ บรรเทาโรดริดสีดวงทวาร แก้ลักปิดลักเปิด
แม้ว่าผลของตะลิงปลิงจะมีประโยชน์หลายอย่าง มีวิตามินเอสูง แคลอรี่ต่ำ แต่ข้อควรจำอย่างหนึ่งในการรับประทานผลก็คือ ไม่ควรรับประทานมากเกินไป เพราะมีฤทธิ์ทำให้เลือดตกตะกอน
เกษตรกรที่สนใจเพาะปลูกต้นตะลิงปลิง สามารถใช้วิธีเพาะเมล็ดหรือตอนกิ่งก็ได้ แต่การปลูกด้วยวิธีเพาะเมล็ดจะได้ต้นที่แข็งแรงสมบูรณ์กว่า แต่ข้อเสียก็คือเติบโตช้ากว่าตอนกิ่ง กว่าจะได้ผลต้องรอ 2-3 ปี ในขณะที่ตอนกิ่งให้ผลหลังจากปลูกประมาณ 8 เดือน
ลักษณะพื้นที่ซึ่งเหมาะสมในการปลูกตะลิงปลิง คือ ดินร่วนปนทราย ระบายน้ำดี และไม่มีน้ำท่วมขัง
สรรพคุณสุดยอดขนาดนี้ เกษตรกรที่มีพื้นที่เพาะปลูกว่างอยู่ หากยังคิดไม่ออกว่าจะลงต้นไม้อะไรดี ลองนึกถึงตะลิงปลิงดูบ้างก็เข้าท่าไม่น้อย

หลิ้งปิ้ง (ตะลิงปลิง)

                หลายวันก่อนไปติดตามงานที่อำเภอกาบังและได้ไปเยี่ยมบ้านอาสาสมัครเกษตร(พี่ปุ่น) ที่บ้านคชศิลา ตำบลบาละ ที่บ้านแกปลูกต้นไม้หลายชนิดทั้งต้นเทียม ต้นสะเดา มะนาว  มะเดื่อ(ลูกฉิ้ง) และตะลิงปลิง ....ผมเองชอบใจและติดใจไม้แปลกๆและไม้ท้องถิ่น  เช่นลูกฉิ้ง ปลูกกันมาแถวนครศรี สุราษฏร์ ใช้เป็นผักเคียง(ผักเหนาะ)ขนมจีน ตะลิงปลิง ที่จริงแล้วแถวบ้านผมที่นครศร๊ เขาเรียกว่าส้มลิ้งปลิ้ง... ผมเห็นที่บ้านคนข้างบ้านตั้งแต่เด็กๆมาแล้วและมันยังเป็นอาหารประเภทของว่างของกินเล่นของเด็กสมัยก่อน เปรี้ยวสุดๆ จิ้มเกลือ แต่ก็ต้องกิน เพราะไม่มีอะไรกิน และอีกอย่างเมื่อที่บ้านจะแกงส้มก็ให้ผมไปขอส้มตะลิ้งปลิงจากคนข้างบ้านเป็นประจำ ...ฮ่าๆๆเลยจำติดใจมาจนทุกวันนี้

             ตะลิงปลิง เป็นพืชเฉพาะถิ่นเข้าใจว่านำมาจากประเทศอินโดนีเซีย  มาเลเซีย และเข้ามาปลูกแถวภาตใต้ของประเทศไทย ตั้งแต่ยะลามาถึงสุราษฎร์ธานี แต่ก็ปลูกกันไม่แพร่หลาย ตะลิงปลิง เป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ 5-7 เมตร แตกกิ่งก้านสาขามาก ประมาณ 3-5 เมตร ใบ เป็นใบประกอบเรียงตัวกันเป็นคู่ คล้ายใบมะยม  ดอก ออกดอกเป็นช่อตามลำต้นและกิ่งดอกมีสีแดง ติดผลมากตามจำนวนดอก ผล กลมยาวขนาดโตเท่าหัวแม่มือ(โป้ง) ผลเป็นร่อง มีสีเขียวเข้ม ฉ่ำน้ำ  มีรสเปรี้ยวจัด(จิ๊ดๆๆ)

การขยายพันธุ์  การเพาะเมล็ด และการตอนกิ่งที่นิยมทำกัน ส่วนวิธ๊อื่นๆไมต่อยนิยมทำกัน เช่น ติดตา ต่อกิ่ง ทาบกิ่ง

การบริโภค นิยมใช้แกงส้ม  แกงคั้ว ตำน้ำพริก ยำต่างๆ หั่นเป็นชิ้นเล็กๆดองกินกับขนมจีน ใสในยำบูดู และนำไปแปรรูป ดอง ตาก อบแห้ง เชื่อม แช่อิ่ม

สรรพคุณ  ทางสมุนไพร    ผล..บำรุงช่วยให้เจริญอาหาร ขับเสมหะ

                           ใบ  ใช้ใบสด 1 กำมือ ตำให้ละเอียดผสมน้ำสุกนำไปพอกหรือทาบริเวณที่ตัน คางทูม

                           ราก รักษาร้อนในแก้กระหายน้ำ นำรากมาล้างให้สะอาดแล้วต้มในน้ำ นำน้ำมาดืม

      ตะลิงปลิง เป็นพืชท้องถิ่นที่มีปลูกทั่วไป แต่ไม่แพร่หลาย เป็นพืชที่หายากขึ้นเรื่อยๆที่จริงแล้วปลูกง่ายโตเร็ว  ให้ผลดก ถึงแม้ว่าจะไม่มีผลทางเศรษฐกิจ แต่ก็มีคุณค่าทางอาหารและมีสรรพคุณทางยา ควรค่าแก่การอนุรักษ์      แล้วผมก็บอกพี่ปุ่นว่าถ้าพบที่งอกขึ้นมาช่วยเก็บเอาไว้ให้ผมสักต้น 2 ตัน... ผมชอบจริงๆส้มลื้งปิ้ง  ผลดกเป็นพวง สวยงาม โรคแมลงไม่มีมารบกวน....ขอบคุณมากครับ   สวัสดีครับ

Tuesday, April 16, 2013

ชวนทานตะลิงปลิง กะปิหวานด้วยกันค่ะ

ชวนทานตะลิงปลิง กะปิหวานด้วยกันค่ะ


  ตะลิงปลิง + กะปิหวาน




ตะลิงปลิง แค่ได้ยินเพียงชื่อ ทุกคนก็น้ำลายสอ และ ถ้าได้ลิ้มลอง พร้อมกะปิหวาน แล้ว จะลืมความเปรี้ยวไปสนิทเชียวค่ะ

ความคิดเรา....สำหรับผู้หญิง กับของเปรี้ยวเป็นของคู่กัน

มะม่วงน้ำปลาหวาน นั่นก็อยู่อันดับต้น ๆ แต่ ถ้าได้ลิ้มลองตะลิงปลิง กะปิหวานแล้วต้องบอกว่า เอามะม่วงน้ำปลาหวานมาแลกก็ไม่ยอม


ถ้าไม่เชื่อ ต้องลองทำดูเองตามนี้ค่ะ



1.    เตรียมพริกขี้หนู หอมแดง น้ำตาลปี๊บ และ น้ำปลา้ำ




2.     นำน้ำตาลปี๊บ กับน้ำปลา  คนให้เข้ากันในชามผสม


3.     ใส่พริกขี้หนูหั่นฝอย และ หอมแดงหั่นฝอยไปลง




4.    เตรียมล้างตะลิงปลิง มาหั่นพร้อมรอเสริฟได้เลยคะ่


ก่อนจะไปทาน มาดูคุณสมบัติของตะลิงปลิงกันหน่อยนะคะ


 "...ส้มโอหล่นจากต้นตะลิงปลิง ลงกองกลิ้งอยู่สล้างข้างพุทรา..."
ที่มา : ตามเสด็จไทรโยค : พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5.


     ตะลิงปลิง เป็นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในอินโดนิเซีย และพบตวามชายทะเลในประเทศบราซิล มีการปลูกในประเทศไทยนานแล้วพบทั่วไปตามสวนและตามบ้าน ออกผลตามกิ่งก้านและลำต้นเป็นพวงแน่นและสวยงาม จึงเป็นที่นิยิมปลูกทั่วไป เป็นไม้ผลใช้บริโภค ตะลิงปลิงอยู่ในสกุลเดียวกับมะเฟือง หรืออยู่ตรงกลางระหว่างมะเเฟืองกับมะดัน
  
        ผล ตะลิงปลิงมีรสเปรี้ยวจัด นิยมใช้แกงส้ม แกงคั่ว ทำน้ำพริก ต้มหมู ต้มเนื้อ ยำต่าง ๆ นำมาดอง หรือหั่นเป็นเล็กๆ กินกับขนมจีน หรืใช้แทนมะนาวในเมี่ยวคำ (ภูเก็ต)

         ใน ส่วนที่กินได้ 100 กรัม ของผลตะลิงปลิง มีน้ำเป็นองค์ประกอบ 92.5 กรัม ในพลังงาน 27 กิโลแคลลอรี่ มีไขมัน 0.3 กรัม คาร์โบไฮเดรท 6.3 กรัม เส้นใย 0.6 กรัม โปรตีน 0.6 กรัม แคลเซียม 5 มิลลิกรัม เหล็ก 0.6 มิลลอกรัม วิตามินเอ 175 Internation Unit วิตามินบี 1   0.02 มิลลิกรัม และ วิตามินซี 35 มิลลิกรัม
          สรรพคุณในตำรายาไทย

ราก : สรรพคุณแก้พิษร้อนใน กระหายน้ำ ฝาดสมาน บำรุงกระเพาะอาหาร แก้โลหิตออกตามกระเพาะอาหาร ลำไส้ ดับพิษร้อนของไข้ แก้ริดสีดวงทวาร แก้คัน แก้คางทูม แก้ไขข้ออักเสบ รักษาสิว รักษาซิลิส บรรเทาโรคเก๊าท์ บรรเทาการอักเสบของลำไส้ใหญ่

ใบ : สรรพคุณใช้พอกแก้คัน ใช้ภายในโดยนำมาต้มดื่มรักษาอาการอักเสบของลำไส้ใหญ่ รักษาซิฟิลิส แก้ไขข้ออักเสบ รักษาคางทูม รักษาสิว
ดอก : นำมาชงเป็นชา สรรพคุณแก้ไอ


ผล : สรรพคุณเจริญอาหาร บำรุงกระเพาะอาหาร ฝาดสมานและลดไข้ แก้เสมหะเหนียว ฟอกโลหิต ยาบำรุงแก้ปวดมดลูก แก้ไอ บรรเทาโรดริดสีดวงทวาร แก้ลักปิดลักเปิด

นี่เอาไปตำน้ำพริกตะลิงปลิง...ก็อร่อยไปอีกแบบ

แม่ตะลิงปลิง...เปรี้ยวใจ


ว้าว....ต้นนี้ลูกดก....แน่นเป็นกระจุกเลย


ดอกสีสวยซะด้วย


เปรี้ยวเข็ดฟันเลย..แต่อร่อยสาวสาวชอบ


แค่จิ้มเกลือ...ก็อร่อยแล้ว


นี่เอาไปตำน้ำพริกตะลิงปลิง...ก็อร่อยไปอีกแบบ



อูย.....ยำหน้าดีดี....ใส่ตะลิงปลิง..น่ากินเนอะ







นี้แกงโบราณ...แกงกะทิใส่ตะลิงปลิง


..แกงกับหมูก็ได้..กุ้งก็อร่อย


กินอร่อยคล้ายแกงสับปะรดจ๊ะ


...คนโบราณชอบปลูกไว้ในบริเวณบ้าน


ยามขาดมะนาวหรือมะขามเปียก...เจ้านี่แหละใช้แทนกันไปเลย


ตอนเด็กเด็ก..บ้านเก่า..ย่าปลูกอยู่ต้นหนึ่ง...ชอบแอบเก็บเอามาเล่นขายของ


สนุกตรงขโมยมาเล่นนี้แหละ....หุหุ...