Monday, November 19, 2012

มะเฟืองตรน, หลิงปลิง(ใต้), กะลิงปริง ปลีมิง ลิงปลิง ลิงปลิง (ระนอง) มูงมัง (เกาะสมุย) บลีมิง (มาเลย์-นราธิวาส)

 "...ส้มโอหล่นจากต้นตะลิงปลิง ลงกองกลิ้งอยู่สล้างข้างพุทรา..."

ที่มา : ตามเสด็จไทรโยค : พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ร.5

     ตะลิงปลิงเป็นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในอินโดนิเซีย และพบตวามชายทะเลในประเทศบราซิล มีการปลูกในประเทศไทยนานแล้วพบทั่วไปตามสวนและตามบ้าน ออกผลตามกิ่งก้านและลำต้นเป็นพวงแน่นและสวยงาม จึงเป็นที่นิยิมปลูกทั่วไป เป็นไม้ผลใช้บริโภค ตะลิงปลิงอยู่ในสกุลเดียวกับมะเฟือง หรืออยู่ตรงกลางระหว่างมะเเฟืองกับมะดัน

    Averrhoa bilimbi L.
    OXALIDACEAE
    ตะลิงปลิง
    Bilimbi, Bilimbing, Cucumber Tree

    มะเฟืองตรน, หลิงปลิง(ใต้), กะลิงปริง ปลีมิง ลิงปลิง ลิงปลิง (ระนอง) มูงมัง (เกาะสมุย) บลีมิง (มาเลย์-นราธิวาส)
   

       

    เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูงประมาณ 5 – 10 เมตร แตกกิ่งก้านสาขามาก เปราะหักง่าย เปลือกต้นมีสีชมพู ผิวเรียบมีขนนุ่มปกคลุมตามกิ่ง
       
        ต้นตะลิงปลิง     เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูงประมาณ 5 – 10 เมตร แตกกิ่งก้านสาขามาก เปราะหักง่าย เปลือกต้นมีสีชมพู ผิวเรียบมีขนนุ่มปกคลุมตามกิ่ง

    ใบประกอบแบบขนนก ก้านใบหนึ่งประกอบด้วยใบย่อย 11 - 37 ใบ ใบย่อยรูปหอก ปลายใบแหลม โคนมน จะเรียงจากขนาดเล็กไปหาขนาดใหญ่ ที่โคนจะมีขนาดเล็ก ใบกว้างประมาณ 1 เซนติเมตร ยาว 2 - 5 เซนติเมตร มีสีเขียวอ่อนมีขนนุ่มๆ ปกคลุมอยู่
       

    ออกดอกเป็นช่อหลายช่อ ตามลำต้นหรือกิ่ง ในแต่ละช่อมีความยาวไม่เกิน 6 นิ้ว ดอกมี 5 กลีบ สีแดงเข้ม กลีบเลี้ยง 5 กลีบเช่นกัน สีเขียวอมชมพู ดอกมีกลิ่น เกสรกลางดอกมีสีเขียว
       
    ผลกลมยาวปลายมน ผลยาว 4-6 เซนติเมตร กว้างประมาณ 2 เซนติเมตร เป็นพูตามยาว ผิวเรียบมีสีเขียว เมื่อสุกเป็นสีเหลือง เนื้อเหลว ออกเป็นช่อห้อย รศเปรี้ยว เมล็ดแบน

       
        เมล็ดตะลิงปลิง     มีลักษณะแบนยาวสีขาว

    มีลักษณะแบนยาวสีขาว

   
ตะลิงปลิงเป็นพรรณไม้ท้องถิ่นของประเทศในเขตเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้ยังพบในประเทศบราซิล ในเมืองไทยเป็นไม้ที่ชาวบ้านนำมาปลูกตามบ้าน ตะลิงปลิงชอบดินร่วนปนทราย ตะลิงปลิงขยายพันธุ์ได้หลายวิธี คือ การเพาะเมล็ด การติดตา การต่อกิ่ง การทาบกิ่งและการตอนกิ่ง การตอนกิ่งเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมและดีกว่าวิธีอื่น
   

(อยู่ในระหว่างการศึกษา)

   

        ผลตะลิงปลิงมีรสเปรี้ยวจัด นิยมใช้แกงส้ม แกงคั่ว ทำน้ำพริก ต้มหมู ต้มเนื้อ ยำต่าง ๆ นำมาดอง หรือหั่นเป็นเล็กๆ กินกับขนมจีน หรืใช้แทนมะนาวในเมี่ยวคำ (ภูเก็ต)

         ในส่วนที่กินได้ 100 กรัม ของผลตะลิงปลิง มีน้ำเป็นองค์ประกอบ 92.5 กรัม ในพลังงาน 27 กิโลแคลลอรี่ มีไขมัน 0.3 กรัม คาร์โบไฮเดรท 6.3 กรัม เส้นใย 0.6 กรัม โปรตีน 0.6 กรัม แคลเซียม 5 มิลลิกรัม เหล็ก 0.6 มิลลอกรัม วิตามินเอ 175 Internation Unit วิตามินบี 1   0.02 มิลลิกรัม และ วิตามินซี 35 มิลลิกรัม

          สรรพคุณในตำรายาไทย

ราก : สรรพคุณแก้พิษร้อนใน กระหายน้ำ ฝาดสมาน บำรุงกระเพาะอาหาร แก้โลหิตออกตามกระเพาะอาหาร ลำไส้ ดับพิษร้อนของไข้ แก้ริดสีดวงทวาร แก้คัน แก้คางทูม แก้ไขข้ออักเสบ รักษาสิว รักษาซิลิส บรรเทาโรคเก๊าท์ บรรเทาการอักเสบของลำไส้ใหญ่

ใบ : สรรพคุณใช้พอกแก้คัน ใช้ภายในโดยนำมาต้มดื่มรักษาอาการอักเสบของลำไส้ใหญ่ รักษาซิฟิลิส แก้ไขข้ออักเสบ รักษาคางทูม รักษาสิว
        ใบตะลิงปลิง     ใบประกอบแบบขนนก ก้านใบหนึ่งประกอบด้วยใบย่อย 11 - 37 ใบ ใบย่อยรูปหอก ปลายใบแหลม โคนมน จะเรียงจากขนาดเล็กไปหาขนาดใหญ่ ที่โคนจะมีขนาดเล็ก ใบกว้างประมาณ 1 เซนติเมตร ยาว 2 - 5 เซนติเมตร มีสีเขียวอ่อนมีขนนุ่มๆ ปกคลุมอยู่



ดอก : นำมาชงเป็นชา สรรพคุณแก้ไอ
        ดอกตะลิงปลิง ออกดอกเป็นช่อหลายช่อ ตามลำต้นหรือกิ่ง ในแต่ละช่อมีความยาวไม่เกิน 6 นิ้ว ดอกมี 5 กลีบ สีแดงเข้ม กลีบเลี้ยง 5 กลีบเช่นกัน สีเขียวอมชมพู ดอกมีกลิ่น เกสรกลางดอกมีสีเขียว

ผล : สรรพคุณเจริญอาหาร บำรุงกระเพาะอาหาร ฝาดสมานและลดไข้ แก้เสมหะเหนียว ฟอกโลหิต ยาบำรุงแก้ปวดมดลูก แก้ไอ บรรเทาโรดริดสีดวงทวาร แก้ลักปิดลักเปิด
   
        ผลตะลิงปลิง     ผลกลมยาวปลายมน ผลยาว 4-6 เซนติเมตร กว้างประมาณ 2 เซนติเมตร เป็นพูตามยาว ผิวเรียบมีสีเขียว เมื่อสุกเป็นสีเหลือง เนื้อเหลว ออกเป็นช่อห้อย รศเปรี้ยว เมล็ดแบน


    ตามตลาดมักขายตะลิงปลิงโดยวางปลิง โดยวางเป็นกองๆ ราคาไม่มอง ประมาณ 5 บาท ต่อ 250 กรัม ( 1 ตะกร้าเล็ก)

   

วิทย์ เที่ยวบูรณธรรม. 2539. พจนานุกรมสมุนไพรไทย. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์สุริยบรรณ

วิวัฒน์ พันธวุฒิยานนท์. 2541. ผลไม้พื้นเมือง(ภาคใต้) ความสุขที่คุณเด็ดได้. นิตยสารสารคดี. 14 (166) : 71.

อุไร จิรมงคลการ. 2547. ผักพื้นบ้าน 1. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์บ้านและสวน. 224 หน้า

http://advisor.anamai.moph.go.th (02/05/2550)

http://www.healthnet.in.th (02/05/2550)

http://www.pharm.chula.ac.th (02/05/2550)

http://www.prc.ac.th (02/05/2550)

http://www.school.net.th (02/05/2550)

http://www.thaigoodview.com (02/05/2550)

http://www.wangtakrai.com (02/05/2550)


ตะลิงปลิงเป็นไม้ผลผลในวงศ์ Oxalidaceae

ตะลิงปลิงเป็นไม้ผลผลในวงศ์ Oxalidaceae เป็นพืชเขตร้อน มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบชายฝั่งทะเลของบราซิล เป็นไม้ยืนต้น สูงได้ถึง 15 เมตร ออกผลตามกิ่งก้านและลำต้นเป็นพวงแน่นและสวยงาม จึงเป็นที่นิยิมปลูกทั่วไป นอกจากนี้ผลยังสามารถใช้บริโภค ตะลิงปลิงเป็นพืชร่วมวงศ์กับมะเฟือง มีส่วนที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนคือ ผลมะเฟืองมีขนาดใหญ่กว่าผลตะลิงปลิง

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ตะลิงปลิงเป็นไม้ยืนต้นขนาด เล็ก มีกิ่งก้านสาขามาก เปราะหักง่าย เปลือกต้นมีสีชมพู ผิวเรียบมีขนนุ่มปกคลุมตามกิ่ง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ก้านใบหนึ่งประกอบด้วยใบย่อย 11-37 ใบ กว้างประมาณ 1 เซนติเมตร ยาว 2-5 เซนติเมตร มีสีเขียวอ่อนมีขนนุ่มๆ ปกคลุมอยู่ ปลายคี่เรียงสลับกัน ใบย่อยรูปขอบขนาน ปลายเรียวแหลม ช่อดอกเป็นกระจุกอยู่ตามลำต้น มีกลีบดิกสีแดงอมม่วง ขนาดประมาณ 1.5 เซนติเมตร ดอกมี 5 กลีบ และมีกลิ่นอ่อน ๆ ทยอยบานได้นาน 1-2 สัปดาห์ขึ้นอยู่กับความดก เกสรกลางดอกมีสีเขียว ผลรูปรี ป้อม ยาว 4-10 เซนติเมตร กว้างประมาณ 2 เซนติเมตร ฉ่ำน้ำ ปลายแหลม และเว้าเป็นพูตื้น ๆ 4 พู สีเขียวอมเหลือง เมื่อสุกเป็นสีเหลือง เนื้อเหลว ออกเป็นช่อห้อย รสเปรี้ยว เมล็ดแบน

การบริโภค

ผลมีรสเปรี้ยว เป็นที่นิยมเก็บผลอ่อนมากินกับกะปิ น้ำปลาหวาน เกลือ หรือนำมาทำส้มตำตะลิงปลิง หรือกินกับอาหารรสจัด หรือใช้เป็นเครื่องปรุงใส่ในอาหารที่ต้องการความเปรี้ยว เช่น แกงส้ม ต้มยำ เป็นต้น หรือจะนำมาแช่อิ่มก็ได้ หรือจะนำมาทำน้ำผลไม้ ซึ่งจะให้แคลอรีต่ำ มีวิตามินเอสูง แต่ไม่ควรกินติดต่อกันเป็นจำนวนมาก ๆ หรือเป็นระยะเวลานาน ๆ เพราะจะทำให้เลือดตกตะกอนได้

วิธีเก็บผล

สามารถเริ่มที่จะทยอยเก็บได้ตั้งแต่ดอกติดผลได้ประมาณ 1-2 เดือน โดยเลือกเก็บผลที่มีสีเขียวอมเหลืองเล็กน้อย เพราะเนื้อจะกรอบและได้รสที่กลมกล่อม ไม่ควรเก็บผลที่มีสีเหลือง เพราะเนื้อจะเละ ผลตะลิงปลิงสามารถเก็บรักษาโดยการล้างให้สะอาด ผึ่งให้แห้ง ใส่กล่องแล้วนำไปเก็บไว้ในตู้เย็น จะเก็บได้ประมาณ 1-2 สัปดาห์

สรรพคุณ ในตำรายาไทย

  • ราก สรรพคุณแก้พิษร้อนใน กระหายน้ำ ฝาดสมาน บำรุงกระเพาะอาหาร แก้โลหิตออกตามกระเพาะอาหาร ลำไส้ ดับพิษร้อนของไข้ แก้ริดสีดวงทวาร แก้คัน แก้คางทูม แก้ไขข้ออักเสบ รักษาสิว รักษาซิลิส บรรเทาโรคเก๊าท์ บรรเทาการอักเสบของลำไส้ใหญ่
  • ใบ สรรพคุณใช้พอกแก้คัน ใช้ภายในโดยนำมาต้มดื่มรักษาอาการอักเสบของลำไส้ใหญ่ รักษาซิฟิลิส แก้ไขข้ออักเสบ รักษาคางทูม รักษาสิว
  • ดอก นำมาชงเป็นชา สรรพคุณแก้ไอ
  • ผล สรรพคุณเจริญอาหาร บำรุงกระเพาะอาหาร ฝาดสมานและลดไข้ แก้เสมหะเหนียว ฟอกโลหิต ยาบำรุงแก้ปวดมดลูก แก้ไอ บรรเทาโรดริดสีดวงทวาร แก้ลักปิดลักเปิด

การปลูกและดูแลรักษา

ตะลิงปลิงปลูกเลี้ยงง่าย ชอบดินร่วนปนทราย ระบายน้ำดี แต่ไม่ทนน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน นิยมขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดหรือตอนกิ่ง ซึ่งต้นที่ได้จากการเพาะเมล็ดจะมีทรงพุ่มสูงใหญ่ และแข็งแรงกว่าต้นที่ได้ตอนกิ่ง แต่จะใช้เวลา 2-3 ปี จึงจะมีดอกมีผล ขณะที่ต้นจากการตอนกิ่งจะให้ผลหลังจากการปลูกลงดิน 5-8เดือน หลังจากปลูกได้นาน 3-4 เดือนควรหมั่นตัดแต่งกิ่งให้เป็นพุ่ม ถ้าไม่ต้องการให้ต้นสูงมากก็ตัดส่วนยอดออกเพื่อให้แตกกิ่งข้าง ๆ จะช่วยให้เก็บผลได้ง่าย ควรใส่ปุ๋ยคอกสลับกับปุ๋ยเคมีบ้างทุก 3 เดือน

อ้างอิง

  • อุไร จิรมงคลการ.ผลไม้ในสวน.พิมพ์ครั้งแรก.กรุงเทพฯ:สายธุรกิจโรงพิมพ์
  • ตะลิงปลิง คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ประโยชน์ของตะลิงปลิงตั้งแต่รากไปยันผล



ตะลิงปลิง
เป็นผลไม้ชนิดหนึ่งที่หาทานได้ไม่ง่ายนัก แต่ก็ไม่ยากจนเกินไปที่จะหา ซึ่งตะลิงปลิงนี้จะมีรสชาติที่เปรี้ยวมาก บางคนรู้สึกว่ามันเปรี้ยวกว่ามะนาวเสียอีก ตะลิงปลิงเป็น ผลไม้ที่มีประโยชน์เยอะแยะมากมายตั้งแต่รากไปยันผลก็สามารถนำมาใช้ประโยชน์ ได้ทั้งนั้น ซึ่งคนเฒ่าคนแก่จะรู้จักกันเป็นอย่างดี ถือว่าเป็นยาสมุนไพรที่หาได้ง่ายชนิดหนึ่งกันเลยทีเดียว เราไปดูสรรพคุณของตะลิงปลิงกันเลยค่ะ
เริ่มจากราก รากของตะลิงปลิงสามารถนำ มาตากแห้งแล้วชงกับน้ำร้อน เพื่อใช้ดื่ม เป็นยาแก้ไข้ แก้ร้อนใน สามารถรักษาโรคไขข้ออักเสบได้ และยังรักษาโรคลำไส้ใหญ่อักเสบ ริดสีดวงทวารได้ และถ้านำรากตะลิงปลิงมาตำให้แหลกใช้ทาผิว จะทำให้สิวยุบเร็ว แก้โรคคางทูม และแก้คันได้
ใบของตะลิงปลิง ลักษณะจะคล้ายกับใบมะยม มีสรรพคุณเป็นยาไทยแท้ ถ้าดื่มน้ำต้มใบตะลิงปลิง สามารถช่วยรักษาโรคลำไส้อักเสบและซิฟิลิสได้ และถ้านำใบตะลิงปลิงมาตำสามารถพอกรักษาโรคข้ออักเสบ คางทุม และแก้คันได้
ดอกของตะลิงปลิง ก็สามารถนำมาชงกับน้ำดื่ม เป็นยาแก้ไอได้อย่างดีทีเดียว
ผลของตะลิงปลิง ลักษณะจะคล้ายกับมะดัน สามารถกินได้สดๆ เป็นยาบำรุงกระเพาะ ช่วยให้เจริญอาหาร ลดไข้ แก้ไอ ลดเสมหะ รักษาริดสีดวงทวารได้ และถ้ากินผลตะลิงปลิงกับพริกไท ก็ยังสามารถช่วยขับเหงื่อ และลดอาการซึมเศร้าได้อีกด้วย
นอกจากนี้ ในน้ำของตะลิงปลิงยังมีสารที่เรียกว่า เอทานอล ที่สามารถช่วยลดน้ำตาลในเลือด และลดไขมันไตรกลีเซอไรด์ได้ดี สามารถนำมาปรุงอาหารแทนน้ำมะนาวให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานได้ ส่วนสารสกัดจากใบตะลิงปลิงก็เป็นยาที่ช่วยรักษาผื่นคันให้หายได้เร็วอีกด้วย
ประโยชน์มากมายขนาดนี้ หาต้นตะลิงปลิงมาปลูกไว้สักต้น ก็ดีไม่น้อยเลยนะคะ

ตะลิงปลิง...ผลไม้สุดเปรี้ยว

มะปริง, ตะลิงปลิง...ผลไม้สุดเปรี้ยว...นี่ก็อีกต้นที่ปลูกหน้าบ้าน




มะปริง....ต้น คล้าย มะยม ผลคล้าย ๆ มะยมผสมมะเฟือง ปลูกตั้งแต่บ้านเสร็จใหม่ ๆ ประมาณปี 2538 ซื้อพันธุ์มา 100.- บาท ทุกวันนี้ออกผลแทบไม่ขาดทุกฤดู ดกมาก ๆ เด็ก ๆ ชอบเก็บไปทานกะเพื่อนที่โรงเรียนทุกเช้า (บางวันบอกว่าคุณครูชอบ) เพื่อนบ้านวันไหนทำงานเข้ากะดึก ก็มาขอไปทานกันแก้ง่วง แม่บ้านก็ขอไปทำน้ำพริก หรือแทนของเปรี้ยวใส่ต้มไก่ ต้มปลา อร่อยมาก ๆ มีสูตรน้ำพริกมะปริงมาฝากละกันน้อ

น้ำพริกตะลิงปลิง
เครื่องปรุง
ตะลิงปลิง 15 - 20 ผล
พริกขี้หนูสด 7 - 10 เม็ด
กระเทียม 3 กลีบ
เกลือป่น 1 ช้อนชา
กะปิ 1 - 2 ช้อนโต๊ะ
กุ้งแห้ง 1 - 2 ช้อนโต๊ะ
น้ำตาล 1 - 2 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ
1. นำกุ้งแห้งล้างให้สะอาด แช่น้ำพอนิ่ม นำขึ้นให้สะเด็ดน้ำพักไว้
2. ตะลิงปลิงล้างให้สะอาด ซอยตามความยาวผล แล้วปาดอย่าให้ติดเมล็ด แช่น้ำเกลือ
10 - 15 นาที สรงขึ้นให้สะเด็ดน้ำ
3. กระเทียมปอกเปลือก ล้างให้สะอาด หั่นหยาบ ๆ พริกขี้หนูล้างให้สะอาด เด็ดก้านออก
4. กะปิปิ้งไฟกลางพอสุก
5. กุ้งแห้งตำให้ละเอียด ใส่กะปิ น้ำตาล กระเทียม พริกขี้หนู ตำต่อให้ละเอียด ใช้
ช้อนคนให้เข้ากัน ตักตะลิงปลิงซอยลงคลุกให้เข้ากัน ชิมดูรส ตักเสิร์ฟรับประทาน
ทันที จะได้น้ำพริกที่กรอบอร่อย

หมายเหตุ หั่นพริกสด และหอมซอยโรยหน้าอีกครั้ง

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ ดอก ผล

รสและสรรพคุณในตำรายาไทย

ใบ : สรรพคุณใช้พอกแก้คัน ใช้ภายใน โดยนำมาต้มดื่มรักษาอาการอักเสบของลำไส้ใหญ่ รักษาซิฟิลิส แก้ไขข้ออักเสบ

ดอก : สรรพคุณแก้ไอ

ผล : สรรพคุณเจริญอาหาร บำรุงกระเพาะอาหาร ฝาดสมานและลดไข้